Connect with us

การคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สาม

รถมอเตอร์ไซค์ชนรถคู่กรณี บุคคลที่สามบาดเจ็บ กรณีเราผิด ประกันชดเชยร่างกายหรือทรัพย์สินอย่างไร

เช็คเบี้ยประกัน

การคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สามของประกันรถจักรยานยนต์

การคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สามเบื้องต้น ครอบคลุมอะไรบ้าง
สำหรับประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ และ3+ มีค่าชดเชยสินไหมทดแทนต่อบุคคลที่สามเหมือนกัน ดังนี้
1. ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัย 300,000 บาทต่อคน
2. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ส่วนเกิน จาก พ.ร.บ. / ต่อครั้ง) 10,000,000 บาท
3. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 600,000 บาทต่อครั้ง

จุดเด่น

-มีประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ สร้างความอุ่นใจ หากเกิดอุบัติเหตุต่อบุคคลที่สาม
-ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ คุ้มครองครอบคลุมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกายและชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ตลอดจนค่าทำขวัญและค่าชดเชยอื่นๆ
-หลีกเลี่ยงเหตุที่เราไม่ได้ตั้งใจ และส่งผลให้คนอื่นจะต้องเดือดร้อน

ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ ดูแลต่อบุคคลที่สาม

บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของบุคคลที่สาม กรณีที่ผู้เอาประกันขับรถชนแล้วอยู่ในฐานะฝ่ายผิด กฎหมายระบุให้ต้องรับผิดชอบ และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตาราง นั่นคือ 600,000 บาทต่อครั้ง
ในกรณีบุคคลภายนอกมีสิทธิ์ได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันรถจักรยานยนต์มากกว่า 1 กรมธรรม์ บริษัทประกันจะเฉลี่ยจ่ายเท่าๆ กัน

ประกันอื่นที่ Tadoo อยากแนะนำ

เพื่อความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์สูงสุดของคุณ เราจึงยินดีนำเสนอประกันที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุดในท้องตลาดตอนนี้

ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+

ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เบี้ยประกันถูกกว่า ราคาสบายกระเป๋า คุ้มครองเต็มที่ใกล้เคียงประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 3+

ขั้นตอนง่าย สะดวก รวดเร็ว เบี้ยประกันถูกสุด ราคาเอื้อมถึง เหมาะกับมอเตอร์ไซค์อายุไม่เกิน 10 ปี

เพิ่มเติม

ทำไมต้องซื้อประกันรถจักรยานยนต์ผ่าน Tadoo

เพราะเราเป็นเว็บไซต์ตัวกลางนำเสนอประกันรถจักรยานยนต์ จากบริษัทประกันภัยมืออาชีพที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะเราเล็งเห็นว่าการซื้อประกันออนไลน์มีบทบาทอย่างมากในตลาดปัจจุบัน สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปซื้อประกันเองโดยตรง

เช็คเบี้ยประกัน

ระยะเวลาเสียชีวิตและทุพพลภาพที่ประกันคุ้มครอง

กรณีเสียชีวิต หากความบาดเจ็บที่ได้รับส่งผลให้เสียชีวิตภายใน 180 วัน หรือ 6 เดือน นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ หรือความบาดเจ็บที่ได้รับส่งผลทำให้ต้องรักษาตัวติดต่อกันเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลและเสียชีวิตลงเพราะความบาดเจ็บนั้น บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่ทำไว้

กรณีทุพพลภาพ แบ่งแยกย่อยเป็น 2 กรณี คือ

ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

บาดเจ็บจนทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่ทำไว้

ทุพพลภาพชั่วคราว

รถมอเตอร์ไซค์ประสบอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ แล้วภายใน 180 วันหลังบาดเจ็บ ทำให้ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลติดต่อกัน การจ่ายสินไหมทดแทน ประกันจะจ่ายให้เป็นระยะ ๆ ไม่ได้เป็นก้อนเดียว จำนวนเงินตามที่ระบุในประกัน ส่วนระยะเวลาที่จ่ายสูงสุด 52 สัปดาห์

เสียงจากผู้ใช้งานจริง ส่วนใหญ่ต่างพึงพอใจ





4.7/5

18,142 รีวิว

ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยใดบ้างที่ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ ดูแลต่อบุคคลที่สาม?

บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลที่สาม ตามความเสียหายทีแท้จริงทีผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลที่สามนั้น ดังเช่น

กรณีบุคคลที่สามเสียชีวิต

บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน แต่หากการเสียชีวิตนั้นทําให้มีผู้ไม่ได้รับอุปการะตามกฎหมาย บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของบุคคลที่สามไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน

กรณีบุคคลที่สามทุพพลภาพถาวร

คือการที่บุคคลที่สามไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆ ได้ และอาชีพอื่นๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ในกรณีที่บุคคลที่สามมีสิทธิ์ได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันรถจักรยานยนต์มากกว่า 1 กรมธรรม์ บริษัทประกันจะร่วมเฉลี่ยจ่ายเท่าๆ กัน

ความเสียหายต่อทรัพย์สินอะไรบ้างของบุคคลที่สาม ที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+

ถึงประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ จะรับผิดชอบความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลที่สาม แต่ก็มึทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ที่เป็นข้อยกเว้นไม่ได้รับความคุ้มครอง

-ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมาย คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม หรือครอบครอง

-ทรัพย์สินใดที่อยู่ใต้เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม อันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ำหนักรถยนต์ หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์

-สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่นําติดตัวขึ้นบนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ หรือกําลังยกขึ้น-ยกลงจากรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่รถยนต์กําลังยกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

-ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ เว้นแต่การรั่วไหลนั้นเกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ หรือการรั่วไหลของแก๊สหรือเชื้อเพลิงเพื่อการเดินเครื่องของรถยนต์

ผลิตภัณฑ์ประกันรถจักรยานยนต์

ประเภทของประกันรถจักรยานยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถจักรยานยนต์

รับใบเสนอราคาประกันรถจักรยานยนต์

เช็คเบี้ยประกัน