Connect with us

ไม่มี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ประกันยังคุ้มครองไหม

ในกรณีที่ พ.ร.บ.หมดอายุ หรือไม่มี พ.ร.บ. ประกันรถจักรยานยนต์ยังคุ้มครองไหม

รถไม่มี พ.ร.บ. ประกันรถจักรยานยนต์ยังคุ้มครองไหม

อย่างที่ทราบกันว่า พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายของตัวรถจักรยานยนต์ ทำให้หลายคนนิยมซื้อประกันรถจักรยานยนต์เพิ่ม เพราะว่าจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนของค่าซ่อมรถ ซึ่งในกรณีที่ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ขาด แล้วเกิดประสบอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 1, ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ และประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 3+ ก็ยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้ทำประกันตามข้อตกลงในกรมธรรม์ ทั้งนี้เพราะหลักฐานที่ต้องใช้ในการเคลมประกันไม่จำเป็นต้องใช้ พ.ร.บ. เพียงแต่ผู้ขับขี่ต้องมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ และประกันรถจักรยานยนต์ที่ยังไม่หมดอายุเช่นกัน

จุดเด่น

  • รถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ. ประกันรถจักรยานยนต์ยังคุ้มครอง
  • การใช้รถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ. ถ้าถูกตรวจเจอมีโทษจับปรับ
  • มี พ.ร.บ. พร้อมมีประกันรถจักรยานยนต์ เปรียบเสมือนมีเกราะคุ้มครองสองชั้น

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์หมดอายุทำอย่างไรดี

เราสามารถต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ ได้ถึง 3 เดือน หรือ 90 วันเลย และในปัจจุบันนี้มีช่องทางที่สะดวก สบาย ประหยัดเวลา โดยการต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์ โดยเราสามารถทำได้ที่บ้านแค่เพียงมีโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็นำ พ.ร.บ.ที่ได้ไปต่อภาษีรถจักรยานยนต์เพื่อรับป้ายวงกลมมาติดไว้ที่ตัวรถ เพียงเท่านี้คุณก็จะใช้รถที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีทั้ง พ.ร.บ.และการต่อทะเบียนภาษีประจำปี

ข้อเสียของการใช้รถไม่มี พ.ร.บ.

รถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ.ก็ถือว่าเป็นรถที่ผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายจราจรทางบกระบุไว้ว่ารถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนนจะต้องมี พ.ร.บ. หากนำรถที่ไม่มี พ.ร.บ.มาใช้วิ่งบนนท้องถนน หากเจอตำรวจตรวจ จะโดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

นอกจากนี้การต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ล่าช้า หรือไม่มี พ.ร.บ. ส่งผลต่อการต่อภาษีรถจักรยานยนต์หรือป้ายวงกลมซึ่งจะถูกปรับคิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่ายนั่นเอง

นอกจากจะโทษปรับต่างๆ เหล่านี้แล้ว คุณยังไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ในกรณีเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย โดยแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้

“รถไม่มี พ.ร.บ. ประกันรถจักรยานยนต์ยังคุ้มครอง”

รถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ.เกิดอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ล้มเอง ชนต้นไม้ และคนขับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หากรถคันที่เกิดอุบัติเหตุไม่มี พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติแต่หากผู้ประสบมีประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 1 หากเกิดอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี สามารถเบิกประกันได้ แต่ในส่วนประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ และ 3+ หากรถพังจากอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณีเบิกประกันในส่วนค่าซ่อมรถไม่ได้

อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ หมดอายุเด็ดขาด

รถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ.ขับรถไปชนคนอื่น

ถ้ารถจักรยานยนต์คันที่ไม่มี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ไปชนรถคันอื่น ผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบสามารถใช้สิทธิ์ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งทางกองทุนฯ จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยไปก่อน แล้วจึงไปไล่เบี้ยเก็บจากเจ้าของรถที่ไม่มี พ.ร.บ. โดยคิดเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมค่าปรับที่ไม่มี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ และนำรถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ.มาใช้ขับขี่ในที่สาธารณะ เป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้งอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของคู่กรณีอีกด้วย

แต่หากรถมีประกันรถจักรยานยนต์ ประกันจะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายต่อรถคันที่โดนชนตามทุนประกันที่ทำไว้

รถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ.ถูกรถคันอื่นชน

หากรถของเราซึ่งไม่มี พ.ร.บ.อยู่แล้ว ถูกรถคันอื่นชน และคนคันอื่นนั้นก็ไม่มี พ.ร.บ.ด้วย ผู้ประสบภัยที่เป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากฝ่ายผิดได้ก่อน แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่จ่าย หรือจ่ายไม่ครบ ผู้ประสบภัยสามารถใช้สิทธิ์เบิกจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งเบิกได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

หากรถของเราที่ไม่มี พ.ร.บ.ถูกรถที่มี พ.ร.บ.ชน เราจะยังได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้ประสบภัย โดยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท หรือหากเสียชีวิตจะได้รับเงินชดใช้ไม่เกิน 35,000 บาท

ผลิตภัณฑ์ประกันรถจักรยานยนต์

ประเภทของประกันรถจักรยานยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถจักรยานยนต์