Connect with us

เครดิตสคอริ่งคืออะไร

มาทำความรู้จักว่าเครดิตสคอริ่งคืออะไร และสำคัญต่อการยื่นกู้สินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างไรบ้าง

มารู้จักกับเครดิตสคอริ่งกันเถอะ

Scoring (สคอ’ริง) n. – การทำคะแนน,การทำแต้ม,การให้คะแนน
Credit (เครด’ดิท) n. – ความน่าไว้วางใจ,ความน่าเชื่อถือทางการเงิน

เครดิตสคอริ่ง (Credit Scoring) หมายถึง คะแนนความน่าเชื่อถือของผู้กู้เงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้จากผู้ยื่นขอกู้สินเชื่อ โดยคะแนนเครดิตจะดีหรือแย่นั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการชำระหนี้สินที่ผ่านมา ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นชำระตรงเวลาหรือไม่ หรือ ขาดการชำระหนี้ ซึ่งเครดิตจะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อสถาบันการเงินต้องการพิจารณาเมื่อผู้ยื่นกู้สินเชื่อ ซึ่งเรียกได้ว่า คะแนนเครดิตจะเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดเลยว่า คุณจะได้รับอนุมัติวงเงินหรือไม่ และได้รับในจำนวนที่มากน้อยแค่ไหน หากสถาบันการเงินพบว่า คะแนนเครดิตของคุณอยู่ในเกณฑ์ดี มียอดใช้จ่าย และชำระหนี้ได้ ก็จะเกิดความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงินได้นั่นเอง

จุดเด่น

  • เครดิตสคอริ่งที่ดีเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อ
  • เครดิตสคอริ่งแสดงความเสี่ยงของการชำระหนี้
  • เครดิตสคอริ่งเป็นการบ่งบอกพฤติกรรมการชำระหนี้

การมีเครดิตสคอริ่งที่ดีหรือมีคะแนนเครดิตที่ดีมีประโยชน์อย่างไร ?

การมีคะแนนเครดิตที่ดีนั้นผู้ขอสินเชื่อจะได้รับประโยชน์ดังนี้

– เพิ่มโอกาสให้กับผู้ขอสินเชื่อให้สามารถขอสินเชื่อได้ในวงเงินที่สอดคล้องกับข้อมูลการชำระหนี้
– การมีเครดิตดีถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ในการบริหารจัดการระบบการเงินของตนเอง ไม่สร้างความเสี่ยงให้แก่เจ้าหนี้
– คะแนนเครดิตดีจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับสถาบันทางการเงินที่จะได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยของผู้ขอสินเชื่อ

ข้อมูลในเครดิตบูโรประกอบด้วยอะไรบ้าง

ข้อมูลเครดิตขอผู้ขอสินเชื่อนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า ที่ใช้แสดงว่าว่าลูกค้าเป็นใคร ทำอาชีพอะไร และมีรายได้เท่าไหร่
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเคยทำบัตรเครดิตมากี่ใบ ขอสินเชื่อรถมากี่คัน ขอสินเชื่อบ้านมากี่หลัง บัญชีนั้นจะอยู่ระหว่างใช้งาน ผ่อนชำระ หรือปิดบัญชีไปแล้ว ก็มีแสดงในรายงานข้อมูลเครดิตทั้งหมด

“เครดิตสคอริ่ง หรือ คะแนนเครดิต คือตัวเลขหรือเครื่องหมายผลรวมการประเมินทางสถิติ ว่าแต่ละคนมีโอกาสจะชำระหนี้คืนได้มากน้อยแค่ไหน โดยดูจากประวัติการก่อหนี้ และการชำระหนี้ในอดีต”

ทำไมคนเราต้องมีเครดิต ?

หากเราไม่ใช่บุคคลที่ร่ำรวยมาตั้งแต่เกิดการที่จะได้บางอย่างมาหรือการจะหาเงินมาสักก้อนนึงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเพื่อการลงทุนบางอย่างคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เช่น การต้องการได้รถยนต์สักคันมาขับทำมาหากิน หรือ การมีบ้านสักหลังเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือการกู้ยืมเงินก้อนจากสถาบันการเงินแล้วทยอยจ่ายเงินก้อนเล็ก แต่จะใช้อะไรในการบอกให้เจ้าหนี้รู้ได้ว่าเราเป็นลูกหนี้ที่ดี หรือ เรามีวินัยในการชำระหนี้ ถ้าไม่ใช่การสร้างเครดิตที่ดี เพื่อประกอบการตัดสินแก่สถาบันการเงินในการอนุมัติเงินกู้ให้กับเรานั่นเอง

การตรวจเครดิตสคอริ่งเป็นเหมือนการตรวจสุขภาพทางการเงินประจำปี อย่างน้อยก็ช่วยให้รู้ว่าปีนี้ยังมีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงเหมือนเดิมอยู่ไหม จะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง

วิธีอ่านค่าเครดิตสคอริ่ง

เครดิตสคอริ่งนั้นจะมีการวัดเกรดระดับ สูงสุดที่ AA ไปจนถึงต่ำสุดที่ HH

Score Rang : 746-900 ระดับความเสี่ยง : AA
Score Rang : 716-745 ระดับความเสี่ยง : BB
Score Rang : 685-715 ระดับความเสี่ยง : CC
Score Rang : 668-684 ระดับความเสี่ยง : DD
Score Rang : 653-667 ระดับความเสี่ยง : EE
Score Rang : 631-652 ระดับความเสี่ยง : FF
Score Rang : 602-630 ระดับความเสี่ยง : GG
Score Rang : 300-601 ระดับความเสี่ยง : HH

ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน (ODD)
ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืนแสดงค่าเต็ม 10000 เช่น ODD 2000.8000
อ่านว่า จากการสุ่มตัวอย่างทางสถิติ จำนวน 1000 คน พบว่า 12 เดือน ข้างหน้า จะมีลูกหนี้จำนวน 2000 คน ที่มีโอกาสชำระหนี้คืนได้ และอีก 8000 คนมีโอกาสที่จะผิดชำระหนี้
คำอธิบายประกอบการให้เครดิตสคอริ่ง แสดงเหตุผลของการให้เกรด และคะแนนประกอบในรายงานไม่เกิน 5 เหตุผล

เหตุผลที่ต้องตรวจเครดิตบูโร

1. เตรียมตัวเพื่อไปขอสินเชื่อ เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ ทำบัตรเครดิต เป็นการประเมินสุขภาพทางการเงินของตัวเอง
2. ตรวจว่าเรามีหนี้อะไรบ้าง มีหนี้ที่เราก่อเองเท่าไหร่ หรือมีหนี้งอกหรือไม่
3. ตรวจว่าประวัติการชำระหนี้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็สามารถแจ้งแก้ไขได้
4. ตรวจว่าหนี้ที่เราชำระไปแล้วนั้น มีสถานะยอดหนี้เป็นศูนย์แล้วหรือไม่
5. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับการเงิน