Connect with us

ปัญหาสุขภาพกับการขับรถ

ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพราะสุขภาพมีผลต่อความสามารถในการขับรถ

ทำไมมีปัญหาสุขภาพจึงไม่ควรขับรถ

ปัญหาสุขภาพหรืออาการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลันกำเริบในขณะขับขี่รถยนต์ถือเป็นภัยอันตรายบนท้องถนนอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ขับรถไม่ได้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะสามารถควบคุมรถได้ ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายถึงขั้นสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก

จุดเด่น

  • ใส่ใจปัญหาสุขภาพ เพราะส่งผลต่อการขับรถ
  • อย่าฝืนขับรถหากเกิดอาการกำเริบ เพราะจะส่งผลเสียตามมา
  • ขับขี่รถอย่างปลอดภัย มั่นใจเพิ่มขึ้นมีประกันรถยนต์ช่วยดูแล

กลุ่มโรคที่กฎหมายห้ามทำใบขับขี่

กฎหมายการจราจรขนส่งทางบกจึงได้มีกฎกำหนดห้ามผู้ป่วย 5 โรคดังต่อไปนี้ห้ามทำเรื่องขอใบอนุญาตขับขี่

1. โรคเท้าช้าง
2. โรควัณโรค
3. โรคเรื้อน
4. โรคพิษสุราเรื้อรัง
5. โรคติดยาเสพติดให้โทษ

4 โรคที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายขณะขับรถ

นอกเหนือจาก 5 โรคที่กล่าวมาข้างต้นคือ โรคเท้าช้าง โรควัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ร่วมกับกรมการขนส่งทางบกและแพทยสภา เสนอเพิ่มทั้ง 4 โรคนี้เข้าไว้ในโรคที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขณะขับรถ นอกเหนือจากโรคที่กฎหมายการจราจรขนส่งทางบกกำหนดไว้ 5 โรคในการห้ามทำเรื่องขอใบอนุญาตขับรถ เพราะทั้ง 4 โรคนี้ ก่อให้เกิดอันตรายได้หากเกิดอาการป่วยขึ้นมากะทันหัน ซึ่งรายละเอียดของทั้ง 4 โรคที่กำหนดไว้ก็คือ

1. โรคลมชักที่กินยาควบคุมไม่ได้
2. โรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน อาจเกิดอาการวูบเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
3. ผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากอาจเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างกะทันหัน
4. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองบางรายที่อาจมีปัญหาเรื่องการควบคุมการทรงตัว และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีผลต่อการตัดสินใจในการควบคุมบังคับรถ

โดยผู้ป่วย 4 อาการดังกล่าวควรได้รับการตรวจรักษาโรคโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด หากตรวจแล้วพบว่าสภาพร่างกายไม่พร้อม แพทย์จะแนะนำให้หยุดขับรถชั่วคราว

“ไม่อยากทำให้ใครเดือดร้อนเพราะเราเป็นต้นเหตุ ดูแลสุขภาพตัวเอง เช็คร่างกายให้พร้อมก่อนขับรถ”

ใส่ใจการขับขี่รถอย่างปลอดภัย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การขับขี่รถในปัจจุบัน ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราในการไปไหนมาไหน ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในเรื่องของการขับขี่อย่างปลอดภัย คอยตรวจเช็คสุขภาพร่างกายตัวเองอยู่เสมอว่าร่างกายเรามีศักยภาพมากพอในการขับรถไหม หากเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคอะไรขึ้นมาจะได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และหากเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการขับรถจะได้ไม่ต้องขับรถเอง อาจจะเปลี่ยนเป็นใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือควรมีคนขับรถให้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ใส่ใจความปลอดภัย ห่างไกลอุบัติเหตุ พร้อมมีประกันรถยนต์ช่วยดูแล

ข้อแนะนำในการขับขี่อย่างปลอดภัย

สำหรับข้อแนะนำในการขับขี่รถอย่างปลอดภัยโดยทั่วไป มีดังนี้

1. ก่อนขับรถควรมีการเตรียมสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อม โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
2. หากเครียดไม่ควรขับรถ เพราะความเครียดจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ เท่ากับเราพักผ่อนไม่เพียงพอ
3. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. หากขับรถระยะทางไกล ควรพักทุก 4 ชั่วโมงหรือทุก 300 – 400 กิโลเมตร และควรมีคนขับสำรอง เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าจนเกิดอาการหลับใน จนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น
5. ขับรถโดยปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
6. ก่อนออกเดินทางควรศึกษาเส้นทาง และตรวจสอบความพร้อมของรถทุกครั้ง

ข้อแนะนำในการขับขี่อย่างปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

นอกจากกลุ่มโรคที่ปัญหาต่อการขับรถแล้ว ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุก็ส่งผลต่อการขับรถเช่นกัน ทาง Tadoo จึงข้อแนะนำการขับขี่รถอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุมาฝากกัน ดังนี้

1. ดูแลสุขภาพให้ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. ตรวจสุขภาพดวงตาและหูเป็นประจำ ดวงตาและหูจะเป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุอย่างมาก อย่างน้อยควรตรวจตาและหูปีละ 1 ครั้ง
3. ไม่เดินทางในเวลากลางคืน เพราะเวลากลางวันจะช่วยให้ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดเจนกว่า
4. วางแผนและนัดหมายล่วงหน้า
5. ฝึกขับรถบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

นอกจากเรื่องสุขภาพที่เป็นเรื่องสำคัญในการขับรถแล้ว การทำประกันรถยนต์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อะไรที่เป็นปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้ เราควรลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ทาง tadoo.co มีประกันรถยนต์หลายประเภทให้คุณเลือกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2/2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3/3+ เลือกประกันรถยนต์ เลือกผ่าน tadoo.co

ผลิตภัณฑ์ประกันรถยนต์

ประเภทของประกันรถยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถยนต์