Connect with us

การคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน

ก่อนที่จะตัดสินใจควรที่ตรวจสอบ รายละเอียดของนโยบายของสินเชื่อบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านคืออะไร

ดอกเบี้ย คือ เงินที่ผู้กู้จะต้องชำระให้กับผู้ให้กู้เพิ่มเติมจากเงินต้นที่กู้มา สำหรับสินเชื่อบ้าน ถือเป็นสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด และมีวิธีคำนวณดอกเบี้ยที่ต่างจากสินเชื่อประเภทอื่น เพื่อให้ผู้กู้ยืมสามารถผ่อนชำระหนี้ซึ่งอาจเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดก้อนนี้ได้

จุดเด่น

  • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เมื่อเราผ่อนชำระทุกงวด จะลดต้นลดดอกเบี้ย
  • อัตราดอกเบี้ยคงที่และแบบลอยตัว มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป

อัตราดอกเบี้ยมีกี่ประเภท

วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารก็จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่

1. อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดตัวเลขแน่นอน มักจะกำหนดในช่วง 1-3 ปีแรกในการผ่อน ทำให้ทราบจำนวนที่ต้องจ่ายอย่างแน่นอน สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้า และควบคุมค่าใช้จ่ายได้

2. อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดแต่ละธนาคาร ปรับขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดการเงิน ไม่สามารถกำหนดได้ และอาจจะแตกต่างกันขึ้นกับความเสี่ยงของผู้กู้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมักจะใช้อัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นหลัก

ระยะเวลาการกู้

ระยะเวลากู้ ทางธนาคารมักกำหนดระยะเวลากู้นานสูงสุดประมาณ 15-30 ปี อาจจะขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน แต่ธนาคารส่วนใหญ่มักกำหนดให้ระยะเวลากู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65-70 ปี เช่น อายุ 40 ปี จะกู้ได้สูงสุด 30 ปี เป็นต้น สำหรับผู้กู้ที่มีกำลังผ่อนในปัจจุบันในระยะเวลา 15 ปี หรือ 20 ปี หากคาดการณ์ว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวจะสูงขึ้น จะทำให้มีปัญหาการผ่อนชำระได้ อาจจะขยายระยะเวลากู้เป็น 25 – 30 ปีก็ได้ เพื่อให้เงินงวดที่ผ่อนต่อเดือนน้อยที่สุด เพราะในภายหลังเมื่อครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็สามารถชำระเงินงวดเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมได้

“ธนาคารแรกที่ทำเรื่องกู้มักกำหนดระยะเวลาที่สามารถรีไฟแนนซ์ได้โดยไม่เสียค่าปรับเมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว 3 ปี”

ตราหนี้สินต่อรายได้

อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้คือการคำนวณที่แสดงรายได้ต่อเดือนของคุณเป็นจำนวนมากต่อการชำระหนี้ ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ให้กู้คิดหาวิธีที่ง่ายสำหรับคุณเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการอนุมัติเงินกู้ยืม

การจ่ายมากกว่าเดิมในแต่ละเดือนที่เรียกว่าจ่ายแบบลดต้นลดดอกเพราะจะเป็นการช่วยลดเงินต้น

วิธีการคำนวณดอกเบี้ย

วิธีการคำนวณดอกเบี้ย = เงินเดือนต้นคงที่*อัตราดอกเบี้ย*จำนวนวันของเดือนนั้น ÷ 365 จำนวนวันภายใน 1 ปี

โดยปกติ ธนาคารจะข้อกำหนดให้ผู้กู้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย โดยจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกวัน หมายความว่า จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด ประกอบไปด้วยดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารกำหนด รวมกับจำนวนเงินต้นที่คงเหลือ ซึ่งธนาคารจะนำเงินต้นที่เหลืออยู่มาเป็นฐานเพื่อคำนวณดอกเบี้ย ดังนั้น ยิ่งเงินต้นเหลือมากเท่าไหร่ ดอกเบี้ยในงวดถัดไปก็จะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น

ตัวอย่างในการคำนวณดอกเบี้ย

งวดที่ 1:

ดอกเบี้ย/เดือน = 1,000,000 x 7.0% x 30 ÷ 365 = 5,753.42 บาท
ยอดเงินสิ้นงวด = 1,000,000 + 5,753.42= 1,005,753.42 บาท
หักค่างวดรายเดือน 10,000 บาท
ดังนั้น คงเหลือยอดเงินต้น = 1,005,753.42–10,000 = 995,753.42 บาท
ยอดเงินต้นคงเหลือ = 995,753.42
ดอกเบี้ย = 5,753.42

งวดที่ 2:

ดอกเบี้ย/เดือน = 995,753.42x 7.0% x 30 ÷ 365 = 5,729 บาท
ยอดเงินสิ้นงวด = 995,753.42 + 5,729 = 1,001,482.42 บาท
หักค่างวดรายเดือน 10,000 บาท
ดังนั้น คงเหลือยอดเงินต้น = 1,001,482.42–10,000 = 991,482.42 บาท
ยอดเงินต้นคงเหลือ = 991,482.42
ดอกเบี้ย = 5,729

งวดที่ 3:

ดอกเบี้ย/เดือน = 991,482.42x 7.0% x 30 ÷ 365 = 5,244.14 บาท
ยอดเงินสิ้นงวด = 991,482.42 + 5,244.14 = 996,726.56 บาท
หักค่างวดรายเดือน 10,000 บาท
ดังนั้น คงเหลือยอดเงินต้น = 996,726.56–10,000 = 986,726.56 บาท
ยอดเงินต้นคงเหลือ = 986,726.56
ดอกเบี้ย = 5,244.14

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยในแต่ละงวดจะลดลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากฐานเงินต้นที่นำมาคำนวณลดลง ดังนั้น หากใครที่มีกำลังพอ ก็สามารถกำหนดค่างวดที่จะชำระให้สูงกว่าขั้นต่ำได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้ภาระการผ่อนชำระหมดไวขึ้น ทั้งนี้ การตัดสินใจจะตั้งค่างวดรายเดือนสูงหรือต่ำ ควรพิจารณาจากฐานรายได้เป็นหลัก ซึ่งผู้กู้ควรมีรายได้อย่างน้อย 2 – 2.5 เท่าของค่างวดต่อเดือน นอกจากนี้ หากใครสามารถเก็บออมเงินจำนวนหนึ่งได้มากพอ หรือช่วงสิ้นปีได้รับโบนัส จะนำมารวมแล้วโปะสมทบเงินต้นก็ได้เช่นกัน วิธีนี้จะช่วยลดยอดเงินต้นลง ทำให้ภาระการผ่อนสั้นลงไปด้วย

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับสินเชื่อ