คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสินเชื่อบ้าน
บ้าน คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญและมีราคาแพง การซื้อด้วยเงินสดจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากกับหลายๆคน สินเชื่อบ้านจึงมีความสำคัญในสังคมปัจจุบัน
บ้าน คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญและมีราคาแพง การซื้อด้วยเงินสดจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากกับหลายๆคน สินเชื่อบ้านจึงมีความสำคัญในสังคมปัจจุบัน
สินเชื่อบ้าน คือ รูปแบบของเงินกู้ระยะยาวที่สถาบันการเงินหรือธนาคารปล่อยให้กู้ยืม เพื่อซื้อหรือใช้ในการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวเฮาส์ ทาวโฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนองให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ
สถาบันทางการเงินสามารถให้ผู้กู้แบกรักการผ่อนชำระได้ไม่เกิน 40% ของรายได้ ซึ่งถ้าหากมีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาทจะมีความสามารถในการผ่อนชำระที่ 6,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตามค่าเฉลี่ยทั่วไปของสถาบันทางการเงินราคาบ้านหรือคอนโดที่ 1 ล้านบาท จะมีอัตราการผ่อนอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน
ดังนั้น หากนำค่าเฉลี่ยนี้มาคำนวณกับอัตราการผ่อนชำระ 40% ของเงินเดือน 15,000 บาทก็จะคำนวณออกมาเท่ากับ 6,000 x 1 ล้านบาท / 7,000 = จำนวนเงินกู้สูงสุดที่ 857,000 บาท
นอกจากมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายนอกเหนือจากราคาบ้าน ฯ ด้วย โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. เงินที่จะต้องจ่ายล่วงหน้าให้กับโครงการบ้าน-คอนโดฯ ประกอบด้วย ค่าส่วนกลาง ซึ่งคิดเป็นต่อตารางเมตรหรือต่อตารางวาต่อเดือน ส่วนใหญ่จะมีเก็บล่วงหน้า 1 ปี เงินกองทุนสะสม (Sinking Fund) และค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า
2. ในกรณีของการกู้ซื้อบ้าน คอนโดฯ ยังมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายให้ธนาคารและกรมที่ดิน ประกอบไปด้วย ค่าดำเนินการขอสินเชื่อ ค่าประเมินสินทรัพย์ ค่าจดจำนอง 1% ของราคาที่อยู่อาศัย ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และค่าประกันอัคคีภัย
“ตรวจสอบตัวเองและเอกสารให้พร้อมเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด”
– กรณีขอขยายเวลาการผ่อนชำระขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคารตามสถานะของลูกหนี้แต่ละราย ในกรณีที่ได้ทำนิติกรรมสัญญากู้ยืมและจำนองเป็นการค้ำประกันสินเชื่อแล้ว ผู้กู้สามารถขยายระยะเวลาการผ่อนชำระได้ โดยติดต่อสาขาเพื่อยื่นคำร้องในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้กู้ จะต้องดำเนินการดังนี้
– กรอกคำขอสินเชื่อใหม่ พร้อมยื่นเอกสารประกอบการขอกู้
– ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ (กรณีหลักทรัพย์เดิมประเมินไว้เกิน 1 ปี) เนื่องจากต้องเซ็นสัญญาและจดจำนองใหม่
สำหรับผู้ซื้อบ้าน-คอนโดฯ ราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป หลังที่ 1-2 ต้องวางเงินดาวน์ 20% และหลังที่ 3 ขึ้นไป ต้องวางเงินดาวน์ 30%
สำหรับผู้ซื้อบ้าน หลังแรก (ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท) หากไม่มีเงินดาวน์สามารถกู้ซื้อบ้าน และคอนโดฯ ได้ โดยจะแบ่งเป็นโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่แล้วที่จะไม่ค่อยเก็บเงินดาวน์ ผู้ซื้อสามารถกู้เงินเต็มเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยนั้นได้เลยและผ่อนชำระมูลค่าของโครงการกับธนาคาร ส่วนอีกกรณีคือโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการวางเงินดาวน์
แต่หากไม่มีเงินดาวน์หรือไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินดาวน์จริง ๆ สำหรับโครงการใหม่ที่ยังสร้างไม่เสร็จ โครงการก็จะมีวิธีการผ่อนเงินดาวน์ไปเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นงวด ๆ และจะมีการเก็บงวดบอลลูน (จ่ายเยอะกว่าเงินดาวน์ปกติหรือปิดยอดเงินดาวน์) ในช่วงที่โครงการใกล้สร้างเสร็จ
ส่วนผู้ที่ซื้อบ้าน-คอนโดฯ หลังที่ 2 ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ได้บังคับใช้หลักเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฉบับใหม่ โดยกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value หรือ LTV) ของการกู้ซื้อบ้านและคอนโดฯ หรือพูดง่าย ๆ คือ กำหนดให้มีการวางเงินดาวน์เพิ่มขึ้น ดังนี้
ผู้ซื้อบ้าน หลังที่ 2
– ต้องวางเงินดาวน์ 10% หากผ่อนสัญญาแรกมาแล้ว 3 ปีขึ้นไป
– ต้องวางเงินดาวน์ 20% หากผ่อนสัญญาแรกไม่ถึง 3 ปี
ผู้ซื้อบ้าน หลังที่ 3 ขึ้นไป
– ต้องวางเงินดาวน์ 30%
การขอสินเชื่อบ้านนั้นจำเป็นต้องหารายละเอียด และข้อมูลเบื้องต้นในการทำก่อน อยากขอสินเชื่อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้
1. เอกสารยืนยันตน หรือเอกสารสำคัญ – เอกสารยืนยันตน หรือเอกสารสำคัญเป็นเอกสารที่สามารถยืนยันตัวเองหรือมีเลขประจำตัว13 หลัก และรูปถ่ายที่สามารถยืนยันตัวเองได้
– สำเนาบัตรประชาชนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือ สำเนาบัตรข้าราชการหรือสำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ
-รูปถ่ายบนหน้าบัตรหรือสำเนาหนังสือเดินทาง(ใช้สำหรับคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ) พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
2. เอกสารหลักประกัน
– เอกสารหลักประกัน เอกสารประกอบการกู้ เพื่อสถาบันทางการเงินจะได้พิจารณาอนุมัติให้ได้อีกด้วย
– เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ (สำเนาโฉนด หน้า/หลัง)
– หนังสือแจ้งข้อมูลหลักประกัน (ขอแบบฟอร์มได้ที่สาขาธนาคาร)
– ภาพถ่ายหลักประกัน
3. เอกสารยืนยันรายได้(ผู้ที่มีรายได้ประจำ) – เอกสารยืนยันรายได้ (ผู้ที่มีรายได้ประจำ) เช่น พนักงานออฟฟิศ หรือข้าราชการ เป็นต้น เอกสารที่เกี่ยวกับรายละเอียดของกระแสเงินเข้า-ออกของคุณ เพื่อตรวจสอบรายได้ของคุณ เพื่อทางสถาบันการเงินหรือธนาคารได้พิจารณาในการอนุมัติ
-หนังสือรับรองเงินเดือน และสลิปเงินเดือน
-เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
4. เอกสารยืนยันรายได้ (ผู้ที่มีธุรกิจส่วนตัว) – เอกสารยืนยันรายได้ (ผู้ที่มีธุรกิจส่วนตัว) เช่น เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของบริษัท เอกสารที่เกี่ยวกับรายละเอียดของกระแสรายเงินเข้า-กระแสเงินออกของคุณ เพื่อตรวจสอบรายได้ของคุณ เพื่อทางสถาบันการเงินหรือธนาคารได้พิจารณาในการอนุมัติ