เสียชีวิตระหว่างผ่อนสินเชื่อบ้านจะทำยังไง
การกู้ซื้อบ้านนอกจากจะศึกษาทำเล ราคา รวมถึงระยะเวลาการผ่อนชำระแล้ว ผู้กู้ซื้อบ้านยังต้องเตรียมวางแผนในกรณีเสียชีวิต เพื่อจะไม่เป็นภาระของลูกหลาน
การกู้ซื้อบ้านนอกจากจะศึกษาทำเล ราคา รวมถึงระยะเวลาการผ่อนชำระแล้ว ผู้กู้ซื้อบ้านยังต้องเตรียมวางแผนในกรณีเสียชีวิต เพื่อจะไม่เป็นภาระของลูกหลาน
ซึ่งก็คือการที่ต้องผ่อนจ่ายเงินเป็นประจำตลอดระยะเวลาการกู้ แต่ก็อย่างที่ทุกคนรู้ อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้กู้บ้าง และยิ่งหากผู้กู้เป็นหัวหน้าครอบครัวที่หาเลี้ยงคนในครอบครัวด้วย
ในกรณีที่ผู้กู้เกิดเหตุสถานการณ์ไม่คาดฝันหรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เสียชีวิตทันที โดยปกติแล้วทางกฎหมาย อสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกทอดสู่ทายาทโดยชอบธรรม รวมไปถึงหน้าที่รับผิดชอบของผู้ซื้อถึงแม้จะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ซึ่งนั้นหมายความว่า หนี้ทั้งหมดจะตกไปสู้ผู้ได้รับมรดก
ถ้าในกรณีที่ผู้กู้ซื้อบ้านทำประกันชีวิตคุ้มครองสินทรัพย์กับทางสถาบันการเงินไว้ตั้งแต่ตอนเซ็นสัญญากู้ยืม บ้านก็จะได้รับการคุ้มครองด้วยประกันสินเชื่อ ซึ่งประกันประเภทนี้จะชดใช้หนี้สินที่เหลือให้ทั้งหมด หากผู้กู้ซื้อบ้านเสียชีวิตก่อนชำระหนี้หมด ซึ่งนั่นก็หมายความว่าทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ตามพินัยกรรม จะได้รับบ้านหลังนั้นไปเลย โดยไม่ต้องมานั่งชำระหนี้ต่อจากผู้กู้ซื้อบ้านที่เสียชีวิต
แม้จะเป็นประโยชน์และเป็นการเตรียมความพร้อม ไม่ให้หนี้บ้านต้องตกเป็นภาระของลูกหลาน แต่ก็ใช่ว่าผู้กู้ซื้อบ้านทุกรายจะเห็นความสำคัญ อีกทั้งส่วนใหญ่มักปฏิเสธการทำประกันคุ้มครองสินทรัพย์ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้กู้ระยะสั้นและผู้กู้ที่อายุยังน้อย เนื่องจากต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงขึ้น
ดังนั้นเมื่อผู้กู้ซื้อบ้านมีเหตุให้ต้องเสียชีวิต ไม่เพียงแต่บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์จะตกเป็นของทายาทเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมหนี้สินที่เหลือด้วย ตามผลของกฎหมาย
“ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA เป็นประกันที่อยู่อาศัย ที่ทำขึ้นสำหรับคุ้มครองบ้านหรือที่ดิน สำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อในการซื้อบ้าน”
ทั้งนี้ เมื่อผู้กู้ซื้อบ้านเสียชีวิตลง ธนาคารหรือสถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้ จะสามารถดำเนินการได้ตาม 2 แนวทาง ดังนี้
1. กรณีทายาทปฏิเสธไม่รับทรัพย์สิน
2. กรณีทายาทต้องการรับทรัพย์สิน
หากทำประกันสินเชื่อไว้ เมื่อผู้กู้เสียชีวิตลงก่อนชำระหนี้หมด ถือเป็นประกันที่มีประโยชน์มากต่อทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ตามพินัยกรรม เพราะจะได้รับบ้านหลังนั้นไปเลยโดยไม่ต้องมานั่งชำระหนี้ต่อ
สถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้ จะทำการยึดทรัพย์สิน เพื่อขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้บ้านต่อไป ซึ่งหากจำนวนเงินมากพอชำระหนี้ได้หมด ทายาทก็ไม่ต้องรับภาระใด ๆ แต่ในการขายทอดตลาดมักได้ราคาที่ต่ำกว่ายอดหนี้ จึงทำให้ทายาทยังคงต้องรับภาระหนี้ที่เหลือต่อไป
อสังหาริมทรัพย์จะได้รับการประเมินสภาพหนี้ใหม่โดยสถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้ ซึ่งจะประเมินจากหนี้ที่เหลือกับความสามารถในการผ่อนชำระของทายาท หากทายาทมีความสามารถผ่อนต่อได้หรือกู้ผ่าน ก็รับหน้าที่ผ่อนต่อไปจนหมด
แต่ถ้าหากทายาทไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ต่อหรือกู้ไม่ผ่าน นั่นหมายความว่าแนวทางการชำระหนี้จะเหมือนกับกรณีทายาทปฏิเสธไม่รับทรัพย์สินสถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้ จะยึดทรัพย์สิน เพื่อขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้บ้านที่เหลือต่อไป
“]