Connect with us

กู้เงินเพื่อผ่อนบ้านต้องทำอย่างไร

การขอสินเชื่อบ้าน เราจำเป็นต้องรู้รายละเอียด ศึกษาขอกำหนดของธนาคารให้ชัดเจน เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด

ขอสินเชื่อต้องเตรียมตัวอย่างไร

หากมีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อบ้าน สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราต้องคำนึกถึงคือความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง ดังนั้นการเลือกประเภทของสินเชื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและกำลังในการหารายได้เพื่อชำระหนี้ในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังต้องทำศึกษากระบวนการและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อให้ละเอียด ถี่ถ้วนและรอบคอบ เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและสินเชื่อจะได้รับการอนุมัติตามที่ต้องการ สิ่งที่ต้องสำรวจมีดังต่อไปนี้

1. สำรวจสถานภาพทางการเงินของตัวเอง
2. สำรวจอัตราดอกเบี้ย
3. สำรวจและเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย
4. สำรวจเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในการขอสินเชื่อ

จุดเด่น

  • ศึกษารายละเอียดก่อนขอสินเชื่อ
  • เตรียมเอกสารให้พร้อม จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด

สำรวจสถานภาพทางการเงินของตัวเอง

สำรวจตัวเองว่าฐานะการเงินและรายได้ของเรา รวมถึงความพร้อมในการกู้ มีหนี้ที่มีการผ่อนชำระหรือเปล่า เช่น หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต ซึ่งหนี้ทั้งหมดรวมถึงหนี้การกู้สินเชื่อ เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ หรือเงินเดือนของเรา ทางสถาบันหรือธนาคารถึงจะมองว่าเรามีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้

สำรวจอัตราดอกเบี้ย

ทางธนาคารจะมีเงื่อนไขในการให้อัตราดอกเบี้ยและวงเงินให้กู้แตกต่างกัน เช่น ถ้าหลักทรัพย์หรือหลักประกันราคาต่ำ เป็นต้นว่า คอนโดราคาต่ำกว่า 300,000 บาท บางธนาคารจะไม่อนุมัติ ดังนั้น อันดับแรก เราต้องเช็คก่อนว่า วงเงินกู้ของเราที่ตั้งไว้กู้ผ่านเงื่อนไขของธนาคารหรือไม่

ตรวจสอบค่าใช้จ่าย รวมแล้วต้องไม่เกิน 40% ของรายได้หรือเงินเดือนของเรา ทางสถาบันหรือธนาคารถึงจะมองว่าเรามีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้

สำรวจและเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย

โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ธนาคารเรียกเก็บ เช่น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่จัดโปรโมชันยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อดึงดูดใจลูกค้า ซึ่งโดยปกติค่าธรรมเนียมการยื่นกู้จะอยู่ที่ 0.10% – 0.25 %

แต่ละธนาคารมักมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น บางธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ว่า ผู้กู้มีรายได้และมีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ อายุ อาชีพ รายรับทางบัญชี งบการเงิน ฯลฯ

สำรวจเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในการขอสินเชื่อ

แต่ละธนาคารมักมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรศึกษาและเปรียบเทียบก่อน เช่น บางธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ว่า ผู้กู้มีรายได้และมีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ อายุ อาชีพ รายรับทางบัญชี งบการเงิน สำหรับเทคนิคง่าย ๆ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้กู้รู้ทันและเตรียมตัวที่จะศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนเลือกสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ย วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาข้อมูลคร่าว ๆ คือ ขอรายละเอียดจากธนาคารในห้างสรรพสินค้าชั้นนำให้ครบทุกธนาคาร ก็จะประหยัดเวลาในการหาข้อมูลไปได้มากทีเดียว

ในการขอกู้เงินหรือสินเชื่อมีความจำเป็นแค่ไหน

ตรวจสอบความต้องการของตัวเองดูว่าสิ่งที่คุณจะกู้เงินไปนี้เพื่อความจำเป็นจริง ๆ หรือเพียงแค่สนองความต้องการที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น คุณต้องการกู้เงินไปซื้อรถเพื่อขนสินค้าทางการเกษตรไปขายที่ตลาดไทย หรือที่บ้านมีพ่อแม่ชรามีโรคประจำตัว ต้องพาไปหาหมอบ่อย ๆ แบบนี้ถือว่าเป็นความจำเป็น แต่ถ้าซื้อรถมาเพื่ออวดเพื่อนที่ทำงานแบบนี้อาจเป็นแค่ความต้องการ ซึ่งถ้ามองโดยรวมมันไม่คุ้มค่ากับการต้องเป็นหนี้เป็นสินเลยสักนิด

เตรียมเอกสารในการกู้เงินหรือขอสินเชื่อ

สำหรับสินเชื่อบ้านนั้น การเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อให้พร้อมจะช่วยให้ระยะเวลาการขออนุมัติสินเชื่อสั้นลง ยิ่งเอกสารครบถ้วนเท่าไร การอนุมัติก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามในแต่ละธนาคารก็อาจขอเอกสารที่แตกต่างกันไปบ้างตามประเภทของสินเชื่อและตามนโยบายของแต่ละธนาคาร ซึ่งเอกสารแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
เอกสารประจำตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี) กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

เอกสารเกี่ยวกับรายได้ได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2. ผู้มีอาชีพอิสระ กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วยบัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร

3. นิติบุคคล ได้แก่ สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน และแผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ

5. เอกสารอื่น ๆ เช่น สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับสินเชื่อ