Connect with us

การกักตัว 14 วันเพื่อการป้องกันโควิด-19

การกักตัว 14 วันสำคัญอย่างไร ทำไมต้องกักตัว

การกักตัวคืออะไร

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ย้ำถึง “การกักตัวเอง” ของผู้ที่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค เพื่อให้ผู้ที่กักตัวไม่เป็นทั้งผู้แพร่เชื้อและผู้รับเชื้อ ซึ่งจะสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยได้ การกักตัวเอง จะใช้เวลาประมาณ 14 วัน ซึ่งเป็นเวลาระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสโคโรนา

จุดเด่น

  • ต้องกักตัวอย่างน้อย 14 วัน เนื่องจากเป็นระยะฟักตัวของเชื้อโรค
  • หากมีอาการเข้าข่ายโรคโควิด-19 ภายใน 14 วันต้องรีบพบแพทย์ทันที
  • ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในตลอดการกักตัว 14 วัน

กักตัว 14 วันจากสาเหตุใดบ้าง

สำหรับการเข้าข่ายที่ต้องกักตัว 14 วัน มีมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1. เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือเขตติดโรคติดต่อ หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าคุณจะไปพื้นที่เสียงด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เมื่อกลับมาแล้วต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยการกักตัว

2. สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยหรือผู้สงสัยว่าป่วย

3. ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือกรมควบคุมโรคให้กักตัวเองดูอาการอยู่ที่บ้าน

ประเทศกลุ่มเสี่ยงใดบ้างที่กลับมาต้องกักตัว

สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศดังต่อไปนี้ ต้องปฏิบัติตัวในการกักตัวอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำที่ได้รับ ไม่ว่าคุณจะได้รับคำสั่งให้กักตัวในสถานที่ราชการหรือทางการแพทย์จัดให้ หรือให้กักตัวดูอาการอยู่ที่บ้านก็ตาม คุณจะต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยการกักตัวอย่างน้อย 14 วัน หากแสดงถึงอาการต้องรีบพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง ซึ่งประเทศกลุ่มเสี่ยงได้แก่

1. จีน
2. เกาหลีใต้
3. ไต้หวัน
4. ฮ่องกง
5. มาเก๊า
6. ญี่ปุ่น
7. สิงคโปร์
8. อิตาลี
9. อิหร่าน
10. เยอรมัน
11. ฝรั่งเศส

รับผิดชอบต่อสังคมด้วยการกักตัว 14 วัน

กักตัว 14 วันต้องทำอย่างไรบ้าง

– ควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่บ้านจนกว่าจะครบ 14 วัน
– ควรสวมหน้ากากอนามัย ให้เปรียบเสมือนว่าเป็นผู้ติดเชื้อและอาจสามารถแพร่เชื้อได้
– ควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ
– รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
– ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
– หากมีอาการไอให้: สวมหน้ากากอนามัย, ปิดปาก จมูก ด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม โดยปิดถึงคาง แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง, ใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม, ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
– ควรเว้นระยะห่าง หรืออยู่ห่างจากคนในบ้าน หรือคนในครอบครัวประมาณ 1 – 2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
– หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ
– สมาชิกทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้งที่สุดเพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ
– ห้ามอยู่ใกล้เด็กรวมถึงไม่ควรเข้าไปกอดเด็กๆ ไม่ว่าเด็กจะเป็นลูกหรือหลาน เพราะอาจจะเพิ่มโอกาสแพร่เชื้อโรคไปสู่ตัวเด็กได้
– ควรทำความสะอาดห้องรับแขก ห้องน้ำ หรือห้องที่คนในบ้านมีการใช้บ่อยๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ พื้น ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ เป็นต้น
– เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกภายในบ้าน

กักตัว 14 วันอย่างเคร่งครัด ลดความเสี่ยงสู่บุคคลอื่น

การดูแลความสะอาด/การใช้บริการในช่วงกักตัว

นอกจากการดูแลความสะอาดขั้นพื้นฐาน ยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรทำ ได้แก่
– ใช้ช้อนกลางเมื่อต้องทานอาหารร่วมกัน
– หากแยกห้องน้ำไม่ได้ ผู้ที่โดนกักตัวควรใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย
– หมั่นทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู
– ซักเสื้อผ้าด้วยผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักด้วยน้ำร้อน60-90องศาเซลเซียส

สำหรับบริการต่างๆ ที่ควรใช้ช่วงกักตัว เพราะบางทีผู้กักตัวอาจจะรู้สึกเบื่อเพราะไม่ได้เข้าสังคม หรือไปไหน บริการต่างๆ เหล่านี้พอช่วยคุณได้ อีกทั้งเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในการกักตัว คือ
– ใช้แอปพลิเคชันเพื่อบันทึกสุขภาพทุกวัน
– ซื้อของออนไลน์
– ใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ หรือสั่งวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยสำรองวัตถุดิบหรืออาหารในปริมาณที่เหมาะสม

แม่ที่ต้องกักตัว สามารถให้นมบุตรได้หรือไม่

เนื่องจากน้ำนมแม่เป็นสารอาหารสำคัญของทารก ดังนั้นมารดาที่อยู่ในช่วงกักตัว 14 วัน จะยังสามารถให้น้ำนมแก่บุตรได้ เนื่องจากปริมาณไวรัสที่ผ่านทางน้ำนมมีน้อยมาก แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร

ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ

ประเภทของประกันสุขภาพ

คู่มือยอดนิยมสำหรับโรค COVID-19