Connect with us

ประกันรถจักรยานยนต์ชั้นไหน เหมาะกับรถเกิน 10 ปี

รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีต้องมีประกันรถจักรยานยนต์อยู่หรือไม่ และควรทำประกันชั้นไหน

ประกันที่รถเก่าต้องมี

ไม่ว่ารถจักรยานยนต์ของคุณจะมีอายุกี่ปี จะเก่าเกิน 10 ปี ประกันที่ต้องมีอย่าปล่อยให้ขาด คือ ประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ เพราะเป็นข้อกำหนดกฎหมายที่รถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนนต้องทำ และต้องมีการต่อ พ.ร.บ.เป็นประจำทุกปี เพราะระยะเวลาการคุ้มครองของ พ.ร.บ.นั้นมีระยะเวลา 1 ปี เราจึงต้องตรวจเช็คอยู่เสมออย่าปล่อยให้ พ.ร.บ.ขาด ที่สำคัญสำหรับการใช้รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีแล้ว คุณจะต้องดูแลรักษาและขับขี่ด้วยความไม่ประมาทเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

จุดเด่น

  • รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีต้องมีประกันภาคบังคับ
  • ประกันรถจักรยานยนต์ภาคสมัครใจของรถเกิน 10 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัท
  • รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ได้

รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ได้ไหม

ถึงแม้ว่ารถจักรยานยนต์ของคุณจะมีอายุเกิน 10 ปี ก็สามารถต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ได้ ยิ่งต่อผ่าน tadoo.co ยิ่งเป็นเรื่องง่าย เพราะเรามีบริการต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ มีขั้นตอนไม่ยุ่งมาก แต่ทั้งนี้หลายคนมักจะสับสนว่าการต่อ พ.ร.บ.กับการต่อภาษีคืออันเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ซึ่งพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะเป็นประกันภัยภาคบังคับ ให้ความคุ้มครองชีวิต มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษ A4 และมีแถบสีเงิน (แถบโฮโลแกรม)

ส่วนการต่อภาษีรถจักรยานยนต์เพื่อรับป้ายวงกลม จะเป็นป้ายที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม

การต่อ พ.ร.บ.สำหรับรถจักรยานยนต์เกิน 10 ปี

สำหรับขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ.ของรถจักรยานยนต์เกิน 10 ปี มีดังนี้

1. ต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ คุณสามารถต่อ พ.ร.บ.ล่วงหน้าได้ 90 วัน และเพื่อเป็นการไม่ยุ่งยากและประหยัดเวลา คุณสามารถเลือกต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ผ่านเว็บ tadoo.co ได้

2. ต่อภาษี ขั้นตอนหลังจากต่อ พ.ร.บ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว คือการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า การต่อทะเบียนรถ ซึ่งเป็นกฎหมายข้อบังคับให้ทำควบคู่ไปกับ พ.ร.บ. หากลืมต่อภาษีรถจักรยานยนต์ จะมีค่าปรับ 1% ของค่าภาษีรถต่อเดือน และที่สำคัญก็ไม่ควรขาดการต่อภาษีเกินเวลา 3 ปี มิเช่นนั้นทะเบียนรถจะถูกระงับทันที สำหรับใครที่กลัวลืมก็สามารถต่อภาษีล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน

3. ตรวจสภาพรถ ในการต่อภาษี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 5 ปี ต้องนำรถไปเช็คสภาพที่กรมขนส่งทางบก หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) โดยมีอัตราค่าตรวจสภาพรถคันละ 60 บาท เอกสารที่ต้องใช้ คือ สมุดคู่มือทะเบียนรถ หลังจากเสร็จแล้ว เราก็จะได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์

“รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ได้ แต่ต่อภาษีออนไลน์ไม่ได้”

ข้อดีสำหรับรถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีที่มี พ.ร.บ.

แน่นอนว่าการต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ไม่ให้ขาดมีข้อดีอยู่แล้ว เพราะ พ.ร.บ.จะดูแลชดเชยหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา โดยแบ่งความชดเชยเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฝ่ายผิดถูก ดังนี้
– กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือกรณีต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียม สามารถเบิกได้ 35,000 บาท
– ค่ารักษาพยาบาล จะจ่ายตามค่ารักษาพยาบาลจริง สามารถเบิกได้ไม่เกิน 30,000 บาท/คน

2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน (กรณีเป็นฝ่ายถูก) ดังนี้
– เสียชีวิต ทุพพลภาพ(ถาวรสิ้นเชิง) จะชดเชยให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุ สูงสุด 500,000 บาท/คน
– ค่ารักษาพยาบาล จะจ่ายตามค่ารักษาพยาบาลจริง สามารถเบิกได้สูงสุด 80,000 บาท/คน
– สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป 500,000 บาท/คน
– สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน หรือกรณีต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียม 250,000 บาท/คน
– สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป 200,000 บาท/คน

รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี

ข้อเสียของการใช้รถจักรยานยนต์เกิน 10 ปีที่ไม่มี พ.ร.บ.

บางคนคิดว่ารถเก่าเกิน 10 ปีแล้วไม่จำเป็นต้องทำ พ.ร.บ.ก็ได้ ขอบอกว่าเป็นความคิดที่ผิดมาก ดังนั้นเราจึงขอสรุปข้อเสียหากใช้รถไม่มี พ.ร.บ.เป็นข้อๆ ดังนี้

1. เกิดอุบัติเหตุต้องจ่ายเอง ไม่ว่าจะทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมรถ ถ้าหากคุณมี พ.ร.บ.อย่างน้อยก็ได้ช่วยในเรื่องค่ารักษาพยาบาล เพราะ พ.ร.บ.ไม่คุ้มครองตัวรถ

2. ไม่ได้รับเงินชดเชย หากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการ จะไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ ทั้งตัวผู้ประสบภัยเองและครอบครัวก็จะลำบาก

3. ถูกจับปรับ หากไม่มี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ประกันรถจักรยานยนต์ชั้นไหนเหมาะกับรถเกิน10ปี

ตอบคำถามที่ว่า ประกันรถจักรยานยนต์ชั้นไหนเหมาะกับรถเกิน10ปี ต้องบอกว่า สำหรับประกันภาคสมัครใจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะรับรถจักรยานยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี ซึ่งจะอยู่ในประเภทประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 3+ แต่ทั้งนี้อาจมีบางบริษัทประกันที่อนุโลมรับรถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 10 ปี ดังนั้นควรตรวจเช็คเงื่อนไขของประกันก่อนทำประกันทุกครั้ง เพราะข้อมูลเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ ก็เป็นข้อมูลที่ทางบริษัทประกันใช้พิจารณาในการรับทำประกันรถจักรยานยนต์ หากรถจักรยานยนต์ของเราไม่เข้าเงื่อนไขก็ทำไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำได้อย่างแน่นอนคือ มี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ เพราะต่อให้รถเกิน 10 ปียังไงก็ต้องมี

ผลิตภัณฑ์ประกันรถจักรยานยนต์

ประเภทของประกันรถจักรยานยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถจักรยานยนต์