Connect with us

หัวใจวายเฉียบพลัน

หัวใจวายเฉียบพลันเกิดได้กับทุกคนทั้งหนุ่มสาว หรือคนแก่ แม้แต่คนที่ออกกำลังกายหรือนักกีฬา ให้ประกันโรคร้ายช่วยรองรับความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในอนาคต

หัวใจวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร

หัวใจวายเฉียบพลันเกิดจากลิ่มหลอดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจที่ตีบซึ่งเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภาวะนี้ทำให้หัวใจขาดเลือดและหากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ หัวใจวายเฉียบพลันมักเกิดกับผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่คนที่ไม่ได้ป่วยก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจเพราะการออกกำลังกายหรือใช้แรงเกินกำลังก็อาจทำให้หัวใจวายได้ รวมถึงความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ไม่แสดงอาการ อาจกำเริบขึ้นมาทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน

จุดเด่น

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยจึงควรดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม
  • คนหนุ่มสาวก็อาจหัวใจวายเฉียบพลันได้ โรคนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น

อาการหัวใจวายเฉียบพลัน

หัวใจวายเฉียบพลันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ออกกำลังกายทุกวัน รวมถึงนักกีฬาก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ สำหรับอาการของโรคหัวใจวายเฉียบพลันนั้น ผู้ป่วยจะเจ็บจุกที่กลางอก นานกว่า 1 นาทีขึ้นไป อาจเจ็บร้าวลามไปยังคอ กราม ไหล่ และแขน นอกจากนี้ยังมีเหงื่อออกมากตามร่างกาย หน้ามืด หายใจถี่ และชีพจรเต้นเร็ว หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบเรียกรถพยาบาลโดยเร็วที่สุด

วิธีการรักษาอาการหัวใจวายเฉียบพลัน

ในส่วนของวิธีการรักษานั้น อาจใช้ยาเพื่อละลายลิ่มเลือด หรืออาจต้องทำบอลลูนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและมีหลอดเลือดตีบมากกว่า 1 เส้น อาจต้องผ่าตัดเพื่อบายพาสหัวใจ อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้หากพบแพทย์ทัน แต่โรคร้ายนี้ก็เสี่ยงต่อภาวะอาการกำเริบฉับพลันซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ เราจึงควรสังเกตลักษณะอาการของตัวเองให้ดี ก่อนจะสายเกินไป

“เราควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพราะอาการของโรคร้ายบางชนิดจะไม่แสดงในระยะเริ่มต้น การตรวจสุขภาพทำให้เราเจอความปกติเร็ว ช่วยให้สามารถรักษาได้ทันการ”

ออกกำลังกาย เสี่ยงต่อหัวใจวายเฉียบพลัน?

การออกกำลังกายเป็นผลดีต่อสุขภาพของเราทั้งเรื่องการเผาผลาญ ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่การออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไปก็อาจนำมาสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ประกันโรคร้ายแรงต้องทำก่อนตรวจเจอโรค หากป่วยแล้ว ประกันจะไม่คุ้มครองโรคร้ายแรงนั้น ๆ จึงควรทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อยและตอนที่สุขภาพยังแข็งแรงเพื่อกรมธรรม์ที่สมบูรณ์ที่สุด

นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายทุกวัน เป็นโรคหัวใจได้หรือไม่

นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน บางคนไม่เคยตรวจสุขภาพเลยเพราะคิดว่าตัวเองแข็งแรงดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ แต่ความคิดนี้ผิดมหันต์เพราะหลายเคสที่นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลันเนื่องจากจริง ๆ แล้วพวกเขาเหล่านั้นเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันแต่ยังไม่แสดงอาการนั่นเอง การออกกำลังกายอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้ก็จริงแต่หากเป็นโรคแล้วก็ไม่ควรออกกำลังกายหนักหรือหักโหมเพราะอาจทำให้หัวใจวายอย่างเฉียบพลันได้

สาเหตุอื่นของหัวใจวายเฉียบพลัน

นอกจากนี้สาเหตุของหัวใจวายอาจจะมาจากภาวะหัวใจผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดแต่ผู้ป่วยไม่รู้เพราะไม่แสดงอาการ รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจหน้า หรืออักเสบ และอาจเกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนนำไปสู่อาการหัวใจวายได้

ดังนั้น สายรักสุขภาพที่ออกกำลังกายทุกวันหรือแม้แต่นักกีฬาเองก็ควรตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจการทำงานของหัวใจเพราะว่าภัยร้ายเหล่านี้มักไม่ค่อยแสดงอาการ รู้ตัวอีกทีอาจจะสายเกินไปเสียแล้ว นอกจากนี้ก่อนและหลังออกกำลังกายควรวอร์มอัพและคูลดาวน์เพื่อเป็นการลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ค่อย ๆ ลงมาเป็นระดับขั้น ไม่ลดลงทีเดียวซึ่งอาจเสี่ยงต่ออาการช็อกได้ และสำหรับใครที่กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจก็สามารถทำประกันโรคร้ายแรงและประกันสุขภาพเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคตได้ ประกันจะช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาล ไม่ให้เราต้องรับภาระค่าใช้จ่ายแสนแพง รวมถึงให้ค่าชดเชยต่าง ๆ ตามกรณีอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง

ประเภทของประกันโรคร้ายแรง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันโรคร้ายแรง