Connect with us

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากไม่อยากมีหนี้ท่วมหัว

หากคุณไม่อยากมีหนี้ท่วมหัวจนเอาตัวไม่รอด ควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้

หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ต้องชำระสูงกว่า 40% ของรายได้แต่ละเดือน

ก่อนการก่อหนี้แต่ละครั้งต้องพิจารณารายรับของตนเองด้วยว่าเพียงพอกับการชำระหนี้สินและมีเงินเหลือสำหรับค่าให้จ่ายอื่นๆ และการเก็บออม การที่ก่อหนี้สูงกว่ารายได้ 40 % นั้น อาจจะทำให้เราเสียโอกาสดีๆ ในชีวิตไปก็ได้ เพราะเงินรายได้ที่เราหามาได้นั้นหมดไปกับการจ่ายหนี้เสียส่วนใหญ่ จนอาจจะไม่มีเหลือพอที่จะนำไปต่อยอดเพื่อให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้นมาได้ ซึ่งบางครั้งกว่าที่เราจะรู้ตัวสภาพการเงินของเราก็ย่ำแย่ไปเสียแล้ว

จุดเด่น

  • หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ต้องชำระมากกว่า 40% ของเงินเดือน
  • ควรมีความรู้ก่อนการก่อหนี้ทุกครั้ง
  • สำรวจหนี้สินของตัวเองอยู่เสมอ

วิธีเช็คว่าเรามีหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละเดือนเกินกว่า 40% หรือไม่

– เริ่มต้นด้วยการนำเอารายจ่ายในส่วนของยอดชำระหนี้ในแต่ละเดือนของเรา เช่น หนี้รถ สินเชื่อ หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนคอมพิวเตอร์ หนี้ผ่อนของต่างๆ เป็นต้น ทั้งหมดมารวมกัน เราก็จะได้ยอดชำระหนี้ในแต่ละเดือนของเราแล้ว

– จากนั้นก็นำยอดชำระหนี้ในแต่ละเดือนของเรามาหารด้วยเงินเดือนหรือรายได้ของเรา แล้วคูณด้วย 100

– รอดูตัวเลขสุดท้ายที่ออกมานี้ว่าเกินกว่า 40% หรือไม่ ถ้าไม่เกินก็ยังถือว่ายังไม่น่าห่วง แต่หากเกินกว่า 40% นี่ถือว่าน่าเป็นห่วงแล้วล่ะครับ เราต้องรีบแก้ปัญหาอย่างด่วนนั่นเอง เช่น หารายได้เสริม เป็นต้น เพราะไม่อย่างนั้นเราอาจจะประสบปัญหาการเงินได้

ตัวอย่างการคำนวณหนี้สิน

เรามียอดชำระหนี้ในแต่ละเดือนดังนี้

– หนี้ค่าผ่อนคอมพิวเตอร์ 2,000 บาท
– หนี้ค่าผ่อนโทรศัพท์มือถือ 2,000 บาท
– หนี้ค่าผ่อนเครื่องเกม 2,000 บาท
– หนี้ผ่อนรถ 7,000 บาท

รวมแล้วยอดชำระหนี้ในแต่ละเดือนของเราจะเท่ากับ 2000 + 2000 + 2000 + 7000 = 13,000 บาท เรามีรายได้เดือนละ 25,000 บาท ยอดชำระหนี้ในแต่ละเดือนของเราคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อรายได้จะเท่ากับ 13,000 ÷ 25,000 × 100 = 52% ถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมากเพราะเกินกว่า 40% ไปค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ทางที่ดีรีบหารายได้เสริมและลดการใช้จ่ายๆ เพื่อที่เรานั้นจะได้หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ท่วมหัว

“ความตั้งใจที่จะปลดหนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เกิดการกระทำ ซึ่งหากคนมีหนี้ไม่มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ถึงความต้องการที่จะปลดหนี้ ก็จะทำให้สภาพหนี้ยังอยู่ ณ จุด เดิม ไม่มีการพัฒนาที่ดีขึ้น”

ห้ามลืมว่าเป็นหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่

การสำรวจตัวเองว่าคุณมีหนี้สินอะไรบ้าง ใครคือเจ้าหนี้ของคุณ และจำนวนหนี้สินทั้งหมด รวมไปถึงดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย แล้วนำมารวบรวมกันเพื่อให้เราเห็นภาพรวมได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับรายได้ หรือเงินเก็บ ว่าเรามีสถานะทางการเงินอยู่ในระดับไหน แต่เห็นตัวเลขแล้วอย่าเพิ่งรีบท้อ เพราะหนี้สินคือเรื่องปกติของคนเราต้องมีหากต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต แต่มีแล้วต้องรู้จักบริหารจัดการหนี้ของเราให้ดี ที่สำคัญคือเราต้องทราบว่าหนี้ที่เรามีอยู่เกิดขึ้นจากอะไรเพราะเมื่อทราบต้นตอของนี้แล้ว ก็อาจระงับก็เพิ่มหนี้ใหม่ได้

หากคุณต้องการที่จะปลดแอกตัวเองออกจากห่วงโซ่หนี้สิน ต้องอดทน อดกลั้น ลด ละ เลิก รายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปให้หมด ถึงแม้จะทำให้เรามีความสุขลดน้อยลงก็ตาม แต่จงเชื่อว่าฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ

การหมดหวัง

พลังบวกเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนมีหนี้มีกำลังใจในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับหนี้ของตนเอง เพราะการเข้าใจสถานการณ์การเป็นหนี้ของคุณว่าหนี้ที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร และเป็นหนี้ดี หรือ หนี้เสีย สร้างพลังบวกให้กับตัวเองเป็นหนี้นั้นสามารถแก้ได้หากมีวินัยพอ และต้องทำใจยอมรับว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ต้องรัดเข็มขัดรัดกุมในเรื่องการเงินอย่างสุด ๆ เมื่อคุณมีความเข้าใจกับปัญหาที่เป็นอยู่ คุณจะสามารถเริ่มแก้ไขมันได้ทันท่วงทีก่อนที่มันจะสาย หรือเลยเถิดเกินไปจนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก

การขาดความรู้

เรื่องการเงินเรื่องหนี้สิน หากคุณไม่คิดที่จะศึกษาหาความรู้เอาไว้บ้าง คุณอาจจะไม่สามารถปลดหนี้ได้ตามที่หวังเอาไว้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับหนี้บัตรเครดิต ทั้งเรื่องการคำนวณดอกเบี้ย วันสรุปยอดบัญชี วันครบกำหนดชำระ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ วิธีการใช้ที่ถูกต้อง และอื่น ๆ อีกมากมายที่หากคุณศึกษาเอาไว้ มันจะเป็นประโยชน์และเป็นส่วนช่วยอย่างมากในการปลดหนี้ของคุณ

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับการเงิน