Connect with us

หนี้ก่อนและหลังสมรส

การแต่งงานและการจดทะเบียนสมรสนั้นเป็นเรื่องดี สำหรับคู่เจ้าบ่าว เจ้าสาวใหม่ ๆ แต่ถ้าวันหนึ่งต้องเลิกราหรือหย่าร้างกันก็ควรที่จะรู้เกี่ยวกับหนี้สมรสไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเอง

สินสมรสคืออะไร

สินสมรส คือทรัพย์สินหรือทรัพย์สมบัติที่ได้มาหลังการแต่งและจดทะเบียนสมรส เช่น รายได้ของเงินเดือนหรือโบนัส รวมทั้งทรัพย์สินที่ได้ร่วมกันทำ อย่างเช่น บ้าน รถ เป็นต้น รวมทั้งทรัพย์สินส่วนตัวและมรดกที่ระบุว่าเป็นสินสมรสตั้งแต่ตอนจดทะเบียนสมรส

จุดเด่น

  • การแต่งงานและจดทะเบียนสมรสนั้น ทำให้คุณและคู่ของคุณได้รับสิทธิ์ทางกฎหมายต่าง ๆ มากกว่าคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียน

หนี้สินสมรสคืออะไร

หนี้สินสมรส คือ หนี้ที่สามีภรรยาเป็นหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภรรยาร่วมกันทำในระหว่างหลังแต่งงานหรือหลังจดทะเบียนสมรส เช่น หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน หนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งให้รับรอง

ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส

การเป็นคู่รักคู่แต่งงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายนั้น แน่นอนว่ามันมีข้อดีและอภิสิทธิ์อยู่มากมายหลายข้อไม่ว่าจะเป็น

1. ทำให้ชาวต่างชาติได้รับสัญชาติไทยหากต้องการถือสัญชาติไทยตามคู่คนไทยของตน
2. ทำให้คู่สมรสมีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส)
3. ทำให้มีสิทธิ์ได้รับเงินจากทางราชการหรือนายจ้างของคู่สมรส อย่างเช่น การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน เป็นต้น
4. สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่สมรส หากพบว่าคู่สมรสนอกใจคบชู้ และที่สำคัญสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากชู้ของคู่สมรสได้อีกด้วย
5. ทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นสามี และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้วตามกฎหมาย)
6. ทำให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้
7. ทำให้สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีของคู่สมรสแทนคู่สมรสได้ เช่น เรียกค่าเสียหายทดแทนจากผู้ที่ขับรถชนสามี เป็นต้น
8. ทำให้ได้รับมรดกในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต

“รู้ไหมว่า หลังจดทะเบียนสมรส เงินเดือนครึ่งหนึ่งของคุณจะถือเป็นสิทธิของสามีหรือภรรยาตามกฎหมายสินสมรสด้วยเช่นกัน”

หนี้สมรสแบบไหนที่คู่สมรสต้องจ่ายร่วมกัน

การจดทะเบียนสมรสนั้นเป็นเรื่องที่ดี สำหรับคู่ภรรยาและสามีใหม่ๆ แต่เมื่อจ้องหย่าร้างหรือเลิกร้างกัน ก็ควรที่จะรู้เกี่ยวกับหนี้สินของครอบครัวหรือหนี้สินที่ร่วมกันจ่าย ดังนั้นหนี้สมรสที่ร่วมกันมีดังต่อไป

– นำเงินกู้มาซ่อมบ้านตัวเอง หรือซ่อมบ้านบุพการีที่ดูแลบุตรเราเป็นหนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน เป็นหนี้ร่วมคู่สมรสต้องร่วมรับผิดชำระหนี้เงินกู้ด้วย
– สามีกู้เงินธนาคารโดยภรรยาให้ความยินยอม เพื่อนำเงินมาใช้ในกิจการค้าขาย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลเป็นหนี้ร่วม
– การที่คู่สมรสให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของคู่สมรสอีกคนหนึ่งเป็นการรับรองให้ แม้ไม่ได้นำเงินไปใช้จ่ายในครอบครัว แต่ถือเป็นหนี้ร่วม

ส่วนของหนี้สินนี้ถือเป็นโชคดีของผู้ที่ไม่จดทะเบียนสมรส เพราะหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าไม่ใช่หนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

หนี้แบบไหนที่ไม่ใช้หนี้ร่วมกับคู่สมรส

หนี้แบบไหนบ้างที่ไม่ใช่หนี้ร่วมกับคู่สมรส

– หนี้ที่กู้มาเพื่อการพนัน ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่ร่วมกัน แต่เป็นหนี้ส่วนตัวของแต่ละบุคคล
– หนี้บัตรเครดิตส่วนตัว เป็นหนี้ของแต่ละบุคคล
– หนี้จากการทำค้ำประกัน แม้อีกฝ่ายจะไม่คัดค้าน แต่ไม่ถือเป็นหนี้ร่วม
– หนี้ที่กู้มาให้บุคคลที่สาม ที่ไม่ใช่ครอบครัว

หากคู่สมรสเสียชีวิต จะต้องชดใช้แทนผู้ตายหรือไม่?

ในกรณี เมื่อฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต สินสมรสจะถูกแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน โดยครึ่งหนึ่งถือเป็นทรัพย์สินส่วนของคุณ อีกส่วนถือเป็นทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตและถือเป็นมรดกที่คุณจะได้รับตามกฎหมาย เจ้าหนี้สามารถทวงถามหนี้กับส่วนที่เป็นมรดกนี้ได้เท่านั้น ภายในระยะเวลา 1 ปีหลังจากคู่สมรสเสียชีวิต โดยการชำระหนี้นั้นหากภาระหนี้มีมากเกินกว่าจำนวนมรดก เจ้าหนี้มีสิทธิ์รับเอาเพียงส่วนที่เป็นมรดกเท่านั้น จะเรียกร้องเกินกว่านั้นไม่ได้ หากเกินจำนวนและเกินระยะเวลา 1 ปี ให้บอกเจ้าหนี้ไปทวงเอากับคนตายเองก็แล้วกัน

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับการเงิน