Connect with us

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันบ้านและทรัพย์สิน

Tadoo ได้รวบรวมคำถามที่น่าสนใจสำหรับการทำประกันภัยบ้านและทรัพย์สินมาให้ผู้ที่สนใจในการซื้อประกันออนไลน์กับเราได้ศึกษาก่อนการตัดสินใจดังนี้

ประกันบ้านและทรัพย์สินคืออะไร

ประกันภัยบ้านและทรัพย์สินคือประกันที่ให้ความคุ้มครองต่อที่อยู่อาศัย และทรัพย์สินที่อยู่ภายในที่อยู่อาศัยจากความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นโดยการจ่ายเงินชดเชยให้แก่เจ้าของบ้าน และค่าซ่อมแซมบ้าน ตามจำนวนทุนประกันภัยที่ได้ทำไว้ และยังขยายความคุ้มครองเสริมที่ผู้ทำประกันสามารถเลือกรับความคุ้มครองได้ตามความเหมาะสมโดยการเพิ่มเบี้ยประกันภัย เช่น ประกันคุ้มครองที่พักอาศัยชั่วคราว ประกันคุ้มครองบุคคลภายนอก ประกันอัญมณีและของมีค่า เป็นต้น

จุดเด่น

  • ประกันบ้านและทรัพย์สินให้ความคุ้มครองความเสียหายจากอัคคีภัยเป็นหลัก
  • ความคุ้มครองบางประเภทไม่ได้รวมในกรมธรรม์หลัก
  • ความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นทำให้เบี้ยประกันเพิ่มขึ้น

ทรัพย์สินการประกันภัย

1. ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันภัยได้มีอะไรบ้าง
– สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน) หมายถึง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถว สำหรับอยู่อาศัย ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม รวมทั้งส่วนปรับปรุงต่อเติมเพื่อการอยู่อาศัย โรงรถและอาคารย่อย
– ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้ง และ ทรัพย์สินอื่นๆภายในสถานที่เอาประกันภัยที่ไม่ได้ระบุในข้อยกเว้น

2. ต้นไม้หน้าที่มีราคาสูงถูกโจรกรรมสามารถขอเบิกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันได้ไหม
– ประกันบ้านและทรัพย์สินไม่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายของต้นไม้และการจัดสวนบ้าน

3. หากเจ้าของทรัพย์สินไม่อยู่บ้านเป็นเวลานานกว่า 60 วัน แต่ได้จ้างคนเฝ้าบ้านไว้แล้วหากถูกโจรกรรมบ้านจะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
– ได้ เพราะถือว่าไม่ได้ทิ้งบ้านไว้โดยความประมาทเพราะยังมีบุคคลดูแลบ้านอยู่

4. เบี้ยประกันบ้านและทรัพย์สินขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
– เบี้ยประกันบ้านและทรัพย์ จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ด้วยเหตุผลดังนี้
1.ทุนประกันความคุ้มครองที่เลือก
2.ขนาดพื้นที่บ้าน ต่อ ตรม.
3.จำนวนทรัพย์สินภายในบ้าน
4.ความคุ้มครองเสริมที่เลือก เช่น ประกันอัญมณีและของมีค่า, ประกันอุบัติเหตุฉุกเฉินในบ้าน เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลง/ต่อเติมบ้าน

1. หากต้องการต่อเติมบ้านโดยการขยายตัวบ้านให้กว้างขึ้นมีผลต่อประกันภัยหรือไม่
ตอบ มีผล หากคุณต้องการต่อเติมบ้านควรแจ้งต่อบริษัทประกันภัยให้ทราบทุกครั้ง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างในกรมธรรม์ ไม่เช่นนั้นกรมธรรม์ของคุณอาจถูกยกเลิก

2. หากต้องการใช้บ้านที่อยู่อาศัยเปิดร้านขายของจะมีผลต่อประกันภัยบ้านและทรัพย์สินหรือไม่
ตอบ มีผล หากคุณทำการเปลี่ยนแปลงบ้านเพื่อการพาณิชย์ ต้องแจ้งต่อบริษัทประกันภัยให้ทราบทุกครั้ง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างในกรมธรรม์ ไม่เช่นนั้นกรมธรรม์ของคุณอาจถูกยกเลิก

3. หากต้องการย้ายทรัพย์สินบางอย่างในบ้านที่ได้ทำประกันไว้ ไปไว้อีกที่หนึ่งทรัพย์นั้นยังได้รับความคุ้มครองหรือไม่
ตอบ ไม่คุ้มครอง เพราะในกรมธรรม์คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในสถานที่ ที่เอาประกันภัยเท่านั้น

นอกเหนือจากการหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประกันภัยจากในอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเองแล้ว อย่าลืมศึกษาข้อมูลจากกรมธรรม์ให้ละเอียดก่อนทำประกันด้วยนะ

ความคุ้มครองเสริม

1. หากพี่เลี้ยงเด็กอาศัยอยู่ในบ้าน และได้รับบาดเจ็บจากเหตุเพลิงไหม้ประกันให้ความคุ้มครองต่อพี่เลี้ยงเด็กด้วยไหม
– หากคุณซื้อประกันที่ครอบคลุมถึงการรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ประกันจะให้ความคุ้มครองต่อบุคคลที่สามที่ประสบอุบัติเหตุภายในสถานที่เอาประกันด้วยเช่นกัน

2. หากเกิดภัยพิบัติในบ้านและบ้านเสียหายจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ประกันมีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร
– หากบ้านหรือที่พักอาศัยของคุณเสียหายไม่จนสามารถพักอาศัยได้อีก สามารถขอเบิกเคลมค่าที่พักชั่วคราวได้ เช่น บ้านเช่า ค่าโรงแรมเป็นต้น เบิกได้ไม่เกินทุนประกันที่เลือกไว้

สิ่งสำคัญที่ผู้ทำประกันภัยบ้านและทรัพย์สินควรทราบคือ ห้ามทำการเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมทำอันเป็นเหตุให้โครงสร้างบ้านเปลี่ยนไป เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากบริษัทประกันภัยแล้ว

การจ่ายค่าสินไหมทดแทน

หากที่อยู่อาศัยเกิดเหตุเพลิงไหม้ 2 ครั้งใน 1 ปี จะขอเบิกเคลมสินไหมทดแทนครั้งที่ 2 ได้ไหม
ตอบ ได้ ในกรณีหากการขอเคลมสินไหมทดแทนในครั้งแรกยังไม่เกินมูลค่าทุนประกัน บริษัทจะชดเชยความเสียหายตามมูลค่าจริงต่อครั้งและไม่เกินทุนประกันที่เลือกไว้ต่อหนึ่งกรมธรรม์ หากความเสียหายในครั้งแรกได้ขอเบิกเคลมเต็มจำนวนทุนประกันแล้วก็จะไม่สามารถเบิกเคลมอีกในกรมธรรม์เดียวกัน

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีกี่วิธี – การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

– กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ (Replacement Cost Valuation) และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ ณ เวลา และสถานที่ที่เกิดความเสียหาย หรือ

– กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Actual Cash Value) และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ซึ่งเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ หักด้วยค่าเสื่อมราคา ณ เวลา และสถานที่ที่เกิดความเสียหาย

การปฏิเสธค่าสินไหมทดแทน

หากเจ้าของทรัพย์สินไม่อยู่บ้านเป็นเวลานานกว่า 60 วัน แต่ได้จ้างคนเฝ้าบ้านไว้แล้วหากถูกโจรกรรมบ้านจะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
ตอบ ได้ เพราะถือว่าไม่ได้ทิ้งบ้านไว้โดยความประมาทเพราะยังมีบุคคลดูแลบ้านอยู่

ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ไม่คุ้มครอง – ทรัพย์สินต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัย
– สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์
– เงินแท่ง หรือเงินรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง หรือทองรูปพรรณ
– โบราณวัตถุหรือวัตถุสำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท
– ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลายแบบ หรือแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์
– หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็กสมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใดๆ
– วัตถุระเบิด
– ไดนาโม หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจาก หรือเพราะการเดินเครื่องเกินกำลัง หรือได้รับกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า เฉพาะเครื่องที่เกิดการเสียหายในกรณีดังกล่าว

ผลิตภัณฑ์ประกันบ้าน

ประเภทของประกันบ้าน

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันบ้าน