ประกันบ้านคุ้มครองค่าใช้จ่ายตามกฎหมายอะไรบ้าง
หากคุณมีบ้านควรศึกษาค่าใช้จ่ายตามกฎหมายคือสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องคำนึงถึง ประกันบ้านและทรัพย์สินขยายคุ้มครองค่าใช้จ่ายตามกฎหมายให้เจ้าของบ้าน
หากคุณมีบ้านควรศึกษาค่าใช้จ่ายตามกฎหมายคือสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องคำนึงถึง ประกันบ้านและทรัพย์สินขยายคุ้มครองค่าใช้จ่ายตามกฎหมายให้เจ้าของบ้าน
คือ ค่าใช้จ่ายที่บังคับให้บุคคลใดๆ ก็ตามที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย เป็นหน้าที่ที่บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ตามจำนวนเงินที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในกรณีของเจ้าของที่อยู่อาศัยก็มีค่าใช้จ่ายตามกฎหมายด้วยเช่นกัน หากเจ้าของบ้านได้ทำประกันบ้านและทรัพย์ จะได้รับความคุ้มครองต่อค่าใช้จ่ายทางกฎหมายหรือที่เรียกว่าการคุ้มครองทางกฎหมายที่บริษัทจะชดเชยแก่เจ้าของบ้าน โดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเอง ซึ่งความคุ้มครองค่าใช้จ่ายตามกฎหมายนี้เป็นประกันประเภทหนึ่งที่สามารถซื้อควบคู่ไปกับการประกันภัยบ้านและทรัพย์สินได้
ความรับผิดชอบส่วนบุคคลคือ บุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน และไม่ได้เป็นสมาชิกในครอบครัว แต่อาศัยภายในบ้านผู้ทำประกัน เช่น พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน คนสวน เป็นต้น
บุคคลเหล่านี้ ผู้เอาประกันภัยที่ต้องให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย เมื่อพวกเขาได้รับเมื่อบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในบ้านของคุณ ทั้งค่าทำขวัญ ค่าสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาล หากคุณทำประกันภัยบ้านและทรัพย์สินที่ขยายความคุ้มครองต่อบุคคลที่สามไว้ คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของบุคคลดังกล่าว บริษัทประกันจะชดใช้ให้แทน เซฟเงินในกระเป๋าคุณได้เยอะทีเดียว
ปกติของการขอสินเชื่อบ้าน ได้มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขอสินเชื่อทุกคนต้องทำประกันอัคคีภัยบ้านเพื่อยื่นต่อสถาบันการเงินในขอกู้ซื้อบ้าน หรือยื่นขอสินเชื่อเพื่อการสร้างบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนองให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ที่ต้องมีการผ่อนชำระตามกฎหมาย การทำประกันอัคคีภัยบ้านนี้เพื่อเป็นหลักประกันสินเชื่อสำหรับเจ้าของบ้าน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
“ทำประกันบ้านและทรัพย์สินไม่ได้คุ้มครองแค่บ้านและทรัพย์สินภายในบ้านเพียงอย่างเดียวแต่ยังให้ความคุ้มครองความรับผิดชอบตามกฎหมาย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกด้วย”
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากเจ้าของบ้านมีบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่เอาประกันภัยนอกเหนือจากสมาชิกในครอบครัวด้วย นั่นหมายถึงบุคคลเหล่านั้นเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมายของเจ้าของบ้านที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายหลังจากที่บุคคลเหล่านั้นได้รับบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย หรือเสียชีวิต ขณะอยู่ในบ้านของคุณ ภายใต้เงื่อนไขอุบัติเหตุนั้นต้องเกิดขึ้นบ้านหรือเคหสถานที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ โดยลักษณะของความคุ้มครองต่อบุคคลที่สามมีที่เข้าข่ายคือ เสียชีวิต หรือบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย,ทรัพย์สินบุคคลที่สามเสียหาย ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย และค่าปฐมพยาบาล ประกันบ้านและทรัพย์สินจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้แทนคุณ
การดูแลรักษาบ้านให้ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการสร้าง ซื้อความคุ้มครองจากประกันบ้านและทรัพย์สินเพื่อลดความเสี่ยงภัยร้ายที่อาจทำลายสิ่งที่คุณได้สร้างมา
ในกรณีเจ้าของบ้านมีภาระค่าใช้จ่ายเป็นภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน หรือธนาคารใดๆ เกี่ยวกับการชำระสินเชื่อ และหนี้สินเกี่ยวกับบ้าน ประกันบ้านและทรัพย์สินจะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้ที่ขอสินเชื่อเสียชีวิต หรือไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระค่าบ้านได้อีกต่อไป บริษัทจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เหลือให้แก่คุณ เหมาะสำหรับเจ้าของบ้านที่กังวลว่าหากเสียชีวิตไปแล้วสมาชิกในครอบครัวที่เหลือจะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้สินต่อไปได้ เป็นการสร้างหลักประกันให้เจ้าของบ้านว่าหลังจากเกิดเหตุร้ายกับครอบครัวแล้ว คนข้างหลังจะไม่ลำบาก ซึ่งทั้งสองความคุ้มครองนี้เป็นความคุ้มครองเสริมที่สามารถซื้อควบคู่ไปกับประกันบ้านและทรัพย์สินได้เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
การขอกู้บ้านแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายมากมายที่ควรรู้เพราะนอกจากผู้กู้ต้องเสียค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยเป็นหลักแล้วยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผู้กู้ควรเตรียมความพร้อมก่อนการซื้อบ้าน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงิน และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน ดังนี้
1. ส่วนที่จ่ายให้กับสถาบันการเงิน
– ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ประมาณ 0-1% ของวงเงินที่ขอกู้
– ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ อยู่ระหว่าง 0-0.5% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
– ค่าธรรมประกันอัคคีภัย1.4 ค่าปรับที่จะต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด 3-5 ปี (ตามแต่ละธนาคาร กำหนด)
2. ส่วนที่จ่ายให้กับกรมที่ดิน
– ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ขอกู้
– ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
-ค่าอากร จำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ 2.4 และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามระเบียบของกรมที่ดิน (หลักร้อย)