Connect with us

ทำอย่างไรหากเพื่อนร่วมทางเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นแล้วเราจะมีวิธีการรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร

วิธีดำเนินการหากเพื่อนร่วมทางเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง

ในกรณีที่เพื่อนร่วมทางเสียชีวิตขณะเดินทางในต่างประเทศ เพื่อน ญาติ หรือ ตัวแทนให้ดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ และให้ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยของคุณที่แผนกรับแจ้งเหตุฉุกเฉินให้เร็วที่สุด โดยบริษัทประกันจะมีเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนแนะนำวิธีปฏิบัติตนเพื่อการจัดการเคลื่อนย้ายศพกลับไปยังประเทศไทย ที่สำคัญให้ตัวแทนเก็บรวบรวมเอกสารแสดงสาเหตุการเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองแพทย์ หรือ ใบบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่นั้นๆ และใบเสร็จรับเงินต่างๆ เพื่อนำกลับมาเบิกจ่ายสินไหมทดแทน โดยตัวแทนหรือญาติอาจต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆไปก่อน และสามารถกลับมาเบิกเคลมค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันทีหลังได้

จุดเด่น

  • ประกันการเดินทางคุ้มครองค่าใช้จ่ายการเคลื่อนย้ายศพกลับประเทศไทย
  • ตัวแทนอาจต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายศพไปก่อน
  • ตัวแทนจำเป็นต้องเก็บรวบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตให้ได้มากที่สุด

การแจ้งมรณะคนไทยในต่างประเทศ

ในกรณีที่เพื่อนร่วมทางคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและได้เสียชีวิต ให้ตัวแทน ญาติ เพื่อน คนรู้จักต้อง แจ้งตายเพื่อขอมรณบัตรไทย จากสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น โดยเอกสารประกอบการแจ้งขอมรณบัตร คือ

– มรณบัตรที่ทางการของประเทศที่คนไทยตายออกให้หนังสือเดินทาง ของผู้ตาย

– เอกสารทางการแพทย์ เกี่ยวกับการตายที่โรงพยาบาลออกให้เอกสารประจำตัวผู้แจ้งต่อจากนั้น ให้นำมรณบัตรที่สถานเอกอัครราชทูตกงสุลไทยออกให้ไปแจ้งที่อำเภอที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ ในประเทศไทยหรือ ให้เจ้าหน้าที่อำเภอบันทึกการตายในประเทศไทยหรือให้เจ้าหน้าที่ อำเภอบันทึกการตายในทะเบียนบ้านมรณบัตรของผู้ตาย บิดามารดา เก็บไว้ใช้ในการอื่นๆ ต่อไป

วิธีการดำเนินการเพื่อเคลื่อนย้ายศพเข้ามาภายในประเทศไทย

สำหรับศพหรืออัฐของผู้ถึงแก่กรรมในต่างประเทศ ที่นำเข้ามาทางอากาศยานนั้น ไม่ต้องทำใบขนสินค้าขาเข้าหรือใบขนสินค้าขาเข้าหรือใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ มีขั้นตอน ดังนี้ผู้นำเข้ายื่นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ดังนี้

– หนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้เสียชีวิต
– ต้นฉบับหรือสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน (Air Waybill)
– ใบมรณะบัตรไทยซึ่งออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่บุคคลดังกล่าวเสียชีวิต
– เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองการเสียชีวิต ระบุเหตุของการเสียชีวิต ซึ่งออกโดยแพทย์หรือโรงพยาบาล
– ใบมรณะบัตรที่ออกให้โดยทางการท้องถิ่นของประเทศที่บุคคลดังกล่าวเสียชีวิต
– เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้รับผิดชอบของหน่วยบริการศุลกากร จะตัดบัญชีสินค้าทางอากาศยานและตรวจปล่อยไปได้ โดยให้ผู้นำเข้าลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐานในเอกสารการรับสินค้า

“สิ่งสำคัญที่สุดหากผู้เดินทางต้องพบเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันซึ่งเพื่อนร่วมทางเสียชีวิตระหว่างทริปนั้นบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ญาติ หรือเพื่อน ต้องตั้งสติให้ดีและรีบดำเนินการจัดการศพแก่ผู้ตายให้เร็วที่สุดเพื่อให้การดำเนินการเคลื่อนย้ายศพกลับประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น”

ประกันเดินทางคุ้มครองการเคลื่อนย้ายศพอย่างไร

หากผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในระหว่างการเดินทาง ตัวแทนของบริษัทที่ได้รับมอบอำนาจในต่างประเทศ จะต้องดำเนินการจัดเตรียมการนำศพหรืออัฐิของผู้เอาประกันภัยที่เสียชีวิตกลับสู่ประเทศไทย บริษัทจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งศพหรืออัฐิของผู้เอาประกันภัยตามที่ตัวแทนของบริษัทที่ได้รับมอบอำนาจ เรียกเก็บจากบริษัท แต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย กรณีที่ผู้รับประโยชน์มีการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งศพหรืออัฐิของผู้เอาประกันภัยไปแล้ว บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือกองมรดกของผู้เอาประกันภัยตามจำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเตรียมการของผู้จัดการศพ (สัปเหร่อ) ค่าหีบศพการดองศพ การฌาปนกิจศพ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในลักษณะ เดียวกันแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์

ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายศพกลับประเทศนั้นมีราคาที่สูงมาก หากไม่มีประกันการเดินทางขณะเดินทางต่างประเทศ ญาติหรือตัวแทนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายศพเองทั้งหมด

เอกสารการเคลมประกันการเดินทาง กรณีเสียชีวิต

เหตุผลหลักของการทำประกันภัยทุกๆประกันภัยก็เพื่อการที่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้เมื่อเกิดเหตุร้าย แต่กระนั้นก็ไม่มีมีใครต้องการให้เกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมีที่พึ่งพาและช่วยบรรเทาความเสี่ยงก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่น้อย วิธีเรียกร้องสินไหมทดแทนเมื่อผู้ทำประกันเข้าเงื่อนไขเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองจะต้องส่งหลักฐานดังต่อไปนี้ให้แก่บริษัทภายใน 30 วัน นับจากวันที่เกิดเหตุ

– แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกัน
– ใบรับรองแพทย์
– ใบมรณบัตร
– รายงานชันสูตรและสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ
– สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน ของผู้รับประโยชน์
– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
– เอกสารอื่นๆ ถ้าบริษัทฯ ร้องขอเพิ่มเติม

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย

หากผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์มีการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือการเคลื่อนย้ายกลับสู่ประเทศไทยไปก่อน ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าวจะต้องส่งหลักฐานดังต่อไปนี้ให้แก่บริษัทภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการรับเคลื่อนย้าย เพื่อประกอบการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง

1. แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดโดยบริษัท
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
3. ใบรายงานแพทย์ที่ระบุอาการสำคัญ ผลการวินิจฉัยและการรักษา
4. ใบเสร็จรับเงิน
5. เอกสารอื่นๆที่บริษัทร้องขอตามความจำเป็น

การไม่ส่งหลักฐานภายในระยะเวลาดังกล่าว ไม่ทำให้สิทธิในการเรียกร้องเสียไป หากแสดงให้เห็นได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถส่งหลักฐานดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ได้ส่งโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้แล้ว

ผลิตภัณฑ์ประกันการเดินทาง

ประเภทของประกันการเดินทาง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันการเดินทาง