Connect with us

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนขอวีซ่าเชงเก้น (Schengen visa)

ขอวีซ่าเชงเก้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เตรียมเอกสารให้ครบ และเตรียมตัวให้พร้อม Tadoo พร้อมช่วยเหลือและนำเคล็ดลับดี ๆ มาฝากคุณ

วีซ่าเชงเก้น (Schengen visa) ขอยากจริงหรือไม่

หลายคนกลัวการขอวีซ่าโดยเฉพาะวีซ่าเชงเก้น ซึ่งเป็นวีซ่าเพื่อเดินทางเข้ากลุ่มประเทศในยุโรป เหตุผลที่ทำให้บางคนกังวลใจ เพราะมีเอกสารที่ต้องเตรียมเยอะ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดบางประการ เช่น ต้องทำประกันการเดินทางที่มีวงเงินคุ้มครองมากกว่า 30,000 ยูโร หรือต้องมีเงินในบัญชีไม่น้อยกว่าที่สถานทูตกำหนด หากเอกสารผิดพลาดเพียงเล็กน้อย หรือคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไข อาจทำให้ถูกปฏิเสธวีซ่าได้ แต่ปัญหาเหล่านี้มีทางแก้ หากเราเตรียมตัวไปดีก็จะขอวีซ่าเชงเก้นได้ง่าย ผ่านฉลุยในรอบเดียว

จุดเด่น

  • การขอวีซ่าเชงเก้นควรดำเนินการที่สถานทูตของประเทศที่เราพำนักอยู่นานที่สุด หรือประเทศแรกที่เราไปถึง
  • ประกันการเดินทางที่นำไปยื่นเป็นหลักฐานการขอวีซ่า ต้องมาจากบริษัทที่สถานทูตกำหนดเท่านั้น

กรอกแบบฟอร์มการยื่นขอวีซ่าให้เรียบร้อย

แบบฟอร์มการยื่นขอวีซ่ามีให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของสถานทูต เราสามารถพิมพ์ออกมาแล้วกรอกข้อมูลให้เรียบร้อยพร้อมกับติดรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว พื้นหลังสีขาว เห็นหน้าตาของผู้ขอวีซ่าชัดเจน และแต่งกายสุภาพ เราควรเตรียมรูปถ่ายไปเผื่อทำเอกสารอย่างอื่นด้วย สำหรับรายละเอียดที่ต้องกรอกในแบบฟอร์มจะเป็นข้อมูลส่วนตัวทั่วไป ผู้ขอวีซ่าควรตอบตามความเป็นจริงเพื่อป้องกันการถูกปฏิเสธวีซ่า ที่สำคัญคือผู้ขอวีซ่าต้องเช็คดูให้ดีว่าดาวน์โหลดแบบฟอร์มมาถูกประเทศ เพราะหากใช้แบบฟอร์มผิด อาจมีผลต่อการขอวีซ่าได้

เอกสารยืนยันตัวตนและการทำงาน

เอกสารส่วนตัวสำหรับยืนยันตัวตน และเอกสารรับรองการทำงานสำคัญมากต่อการยื่นขอวีซ่า เพราะทางสถานทูตจะใช้ข้อมูลจากหลักฐานเหล่านี้พิจารณาว่าเรามีงานทำเป็นหลักแหล่งแน่นอน และจะเดินทางกลับประเทศไทย สำหรับเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้

1. หนังสือเดินทางฉบับจริงและสำเนาพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง – อายุของหนังสือเดินทางไม่ควรต่ำกว่า 6 เดือนนับจากวันเดินทาง และต้องมีหน้าว่างในเล่มอย่างน้อย 2 หน้า หากมีหนังสือเดินทางเล่มเก่า ควรนำไปด้วย

2. รูปถ่าย 2 นิ้ว – พื้นหลังสีขาว และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน ควรเป็นรูปหน้าตรง ไม่ยิ้มเห็นฟัน เห็นหน้าตาชัดเจน และแต่งกายสุภาพ

3. เอกสารรับรองการทำงาน (Work Permit) – ฉบับภาษาอังกฤษ และมีอายุไม่เกิน 1 เดือน สำหรับพนักงานบริษัทสามารถใช้หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัทต้นสังกัดได้ โดยควรระบุตำแหน่ง เงินเดือน และวันลาให้ชัดเจน

4. หนังสือจดทะเบียนบริษัท – สำหรับเจ้าของกิจการสามารถใช้หนังสือจดทะเบียนแทนเอกสารรับรองการทำงานจากบริษัทได้ โดยควรเตรียมเอกสารมาเป็นภาษาอังกฤษ

5. ใบกำกับภาษี – หรือหลักฐานการเสียภาษี สามารถนำมาใช้เป็นเอกสารยืนยันการทำงานกรณีที่เป็นฟรีแลนซ์หรืออาชีพอิสระ

6. หนังสือรับรองการเป็นนักเรียน หรือนักศึกษา – สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่สามารถใช้หนังสือรับรองจากสถานศึกษาฉบับภาษาอังกฤษได้

วีซ่าเชงเก้นสามารถยื่นขอได้ล่วงหน้า 6 เดือน และช้าที่สุดคือ 15 วันก่อนการเดินทาง เงื่อนไขนี้เป็นกฎเกณฑ์ใหม่ที่ขยายเวลาจากเดิม

หลักฐานทางการเงิน

ผู้ขอวีซ่าควรใช้หน้าสมุดบัญชีที่มีการเคลื่อนไหวและดูน่าเชื่อถือ สามารถแนบบัญชีฝากประจำไปได้ นอกจากนี้ควรขอ Statement ย้อนหลัง 6 เดือน และหนังสือรับรองทางการเงินเป็นภาษาอังกฤษจากธนาคาร สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ ควรจัดการบัญชีในช่วง 6-7 เดือนก่อนเดินทางให้ดี ควรมีเงินเข้าและออกสม่ำเสมอเพื่อสร้างความมั่นใจในกับทางสถานทูต ไม่ควรโอนเงินก้อนเดียวเข้าไปในบัญชี เพราะแม้ว่าเงินก้อนนั้นจะมีจำนวนมากแต่ถือว่าเป็นพฤติกรรมน่าสงสัยทำให้อาจถูกปฏิเสธวีซ่าได้

ในส่วนของคนที่ไม่มีรายได้นั้น ต้องมีหนังสือรับรอง หรือ Sponsor Letter จากคนที่ออกค่าใช้จ่ายให้ ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษและมีลายเซ็นรับรอง พร้อมแนบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนสมรส เป็นต้น

หากผู้ขอวีซ่าได้รับเชิญจากหน่วยงานหรือองค์กรในกลุ่มประเทศเชงเก้น ควรแนบจดหมายเชิญให้ทางสถานทูตได้พิจารณาด้วย จะส่งผลให้ขอวีซ่าได้ง่ายขึ้น

เอกสารการเดินทาง

เอกสารการเดินทางเป็นอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญที่มีผลต่อการพิจารณาวีซ่าโดยผู้ขอต้องเตรียมเอกสารและหลักฐานการจองที่พัก ที่เที่ยว รวมถึงตั๋วเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับไปให้พร้อม เพื่อยืนยันว่าเราเดินทางไปท่องเที่ยวจริงและจะเดินทางกลับประเทศไทยตามกำหนด นอกจากนี้ควรเตรียมแผนการเดินทางเป็นภาษาอังกฤษไปด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเดินทางให้ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ประกันการเดินทาง

เอกสารสำคัญอีกอย่างที่มองข้ามไม่ได้ โดยเฉพาะกับการขอวีซ่าเชงเก้นเพราะเป็นข้อกำหนดของสถานที่ทูตที่ว่าผู้ขอวีซ่าเชงเก้นต้องทำประกันการเดินทางที่มีวงเงินคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 30,000 ยูโร หรือ 1,500,000 บาท รวมถึงต้องคุ้มครองค่าส่งตัวผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือส่งศพกลับประเทศด้วย ทั้งนี้ เผื่อกรณีฉุกเฉินที่ผู้ขอวีซ่าประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตที่ต่างประเทศ จะได้มีคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับประกันการเดินทางนั้นสามารถทำได้ง่ายมาก โดยเลือกซื้อกับตัวแทนประกัน หรือเลือกซื้อทางเว็บไซต์ออนไลน์ก็ได้

ผลิตภัณฑ์ความคุ้มครองวีซ่า

ประเภทความคุ้มครองวีซ่า

คู่มือยอดนิยมสำหรับความคุ้มครองวีซ่า