ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า การเจ็บป่วยนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สภาพการป่วยไข้เป็นระยะหนึ่งซึ่งลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรค และเริ่มแสดงอาการเหล่านี้ เช่น การสูบฉีดโลหิตน้อยลง ทำให้มือเท้าเย็น การหายใจเริ่มผิดปกติ หรือหายใจขาดเป็นช่วงๆ มีเสมหะออกมามาก กล้ามเนื้อหย่อนยานควบคุมไม่ได้ การรับรู้แย่ลง กินได้น้อยลงหรือกินไม่ได้เลย บางรายหลับตลอดเวลา การเจ็บป่วยระยะสุดท้ายอาจเป็นช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของชีวิต เพราะนอกจากการต้องทนต่อความทุกข์ทรมานแล้ว ยังต่อต่อสู้กับค่าใช้จ่ายในการรักษาความเจ็บป่วยหรือบรรเทาอาการเจ็บนั้นให้พอทุเลาได้เป็นครั้งคราว การทำประกันชีวิตคู่กับประกันโรคร้ายแรงไว้จะเป็นเพื่อนคุณทั้งตอนเจ็บป่วยและตอนเสียชีวิต
เมื่อเราได้รับความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงจนถึงอาการเจ็บระยะสุดท้าย สิ่งที่ต้องนึกถึงก็คือค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยเมื่อเสียชีวิต การเลือกความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยระยะสุดท้าย คุณอาจเลือกซื้อประกันอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมกับคุณ หรือซื้อประกันเสริมจากประกันหลักเพื่อเพิ่มความคุ้มครองได้เช่นกัน
เป็นประกันภัยที่ช่วยค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจอโรคร้ายแรง ได้รับเงินชดเชยทันทีที่ตรวจเจอโรค ดูแลค่าใช้จ่ายอื่นๆ จนถึงระยะเวลาสุดท้ายของชีวิต
ประกันชีวิต ส่วนใหญ่เน้นการจ่ายเงินเมื่อมีการเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินก้อนหลังจากการเสียชีวิตของผู้ทำประกัน เพื่อมาใช้จัดการศพ
ความเจ็บป่วยใดๆก็ตามเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีการรักษาจนสุดความสามารถ และสิ่งที่ตามมาคือค่ารักษาพยาบาลที่แสนแพง การมีประกันภัยจะช่วยสร้างความคุ้มครองให้แก่คุณและคนที่คุณรักเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยทางเลือกประกันภัยที่หลากหลายจาก Tadoo
การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย หมายถึง การปราศจากซึ่งโอกาสในการกลับมามีความสามารถดีดังเดิม ในการที่ผู้ทำประกันจะได้รับความคุ้มครองความเจ็บป่วยระยะสุดท้ายต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือข้อยกเว้นของบริษัทประกันภัยดังนี้
1. จ่ายเงินเมื่อได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ – ความเจ็บป่วยระยะสุดท้ายของผู้ทำประกันภัยนั้นต้องได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าด้วยการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ตามคำนิยามของโรคที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
2. การปลดภาระหนี้ผูกพัน – หลังจากการจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์หรือผู้แทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ถือว่าเป็นการปลดภาระผูกพันของบริษัทตามกฎหมาย
3.การเจ็บป่วยก่อนระยะเวลาคุ้มครอง – คุณจะได้รับความคุ้มครองการทำประกันโรคร้ายเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งที่เรียกว่า ระยะเวลารอคอย เป็นจำนวนวันที่บริษัทได้ระบุไว้ ดังนั้นคุณจะไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยซึ่งแพทย์ยืนยันและมีหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นก่อนระยะเวลารอคอย หรือก่อนระยะเวลาที่ได้รับความคุ้มครองหลังจากการทำประกันภัย
4. สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition) – บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ กรณีการพบหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงถึงสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากบริษัทที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ก่อนการทำประกันภัย
14,256 รีวิว
ผู้ป่วยหนักระยะสุดท้ายมักจะมีความต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก สิ่งที่คนใกล้ตายกลัว ที่สุดคือการถูกทอดทิ้ง การอยู่โดดเดี่ยว และต้องการใครสักคนที่เข้าใจและอยู่ข้างๆ เมื่อผู้ป่วยต้องการ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็อาจมีความรู้สึกและความต้องการต่างกันไป ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควรให้โอกาสผู้ป่วยได้แสดง ความรู้สึกและความต้องการ โดยการพูดคุยและเป็นผู้ฟังที่ดี และควรปฏิบัติตามความต้องการของผู้ป่วย วิธีดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้:
1.ดูแลทางจิตใจ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความโศกเศร้า รับฟังอย่างตั้งใจ เคารพในความเป็นส่วนตัว หลีกเลี่ยงการเล่าเรื่องตลกขำขันเพราะคิดว่า จะทำให้ผู้ป่วยแจ่มใสขึ้น ถ้ามีอาการซึมเศร้า มาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาต้าน ซึมเศร้าที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
2.ดูแลทางสังคม
ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ความเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นสามีหรือภรรยาเป็นผู้หา รายได้หลัก บทบาทเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วย ที่อาจมีความห่วงใยต่อคนข้างหลัง ดังนั้นควรสร้างความสบายใจให้แก่ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการให้กำลังใจ ไม่สร้างเหตุการณ์ให้ผู้ป่วยต้องกังวลใจเมื่อจะจากไป
3.การดูแลทางจิตวิญญาณ ศาสนา
การให้ความหมายและคุณค่า แก่สิ่งต่างๆที่ผู้ป่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งฝัง อยู่ในส่วนลึกของจิตใจของผู้ป่วยและมีอิทธิพลและแรงผลักดันต่อความรู้สึก ความคิด และการกระทำของ บุคคลนั้น เช่น การอ่านหนังสือธรรมะให้ผู้ป่วยฟัง การเปิดเทปหรือวิทยุที่ผู้ป่วยชอบ สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความสุขใจในชีวิตก่อนตายให้ผู้ป่วยได้