Connect with us

ประกันชีวิตกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

ทางเลือกประกัน สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตบนความเสี่ยงสูง ต้องการความคุ้มครองที่เหมาะสม

เช็คเบี้ยประกัน

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงคือใคร?

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหมายถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตมากกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมด้านสุขภาพ พฤติกรรมด้านการดำรงชีวิต อาชีพ เป็นต้น โดยบริษัท ประกันจะพิจารณาโปรไฟล์ความเสี่ยงของคุณเพื่อคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของคุณ ยิ่งคุณมีปัจจัยเสี่ยงมากเท่าไหร่ก็มีโอกาสมากขึ้นที่ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายเงินดังนั้นค่าประกันจึงสูงขึ้น หรือในบางกรมธรรม์ก็อาจถูกปฏิเสธการรับประกันภัย หากคุณรู้ตัวว่าคุณเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงแต่อยากทำประกันภัยควรปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ที่ส่งผลให้ความเสี่ยงลดลง บริษัทประกันอาจรับพิจารณาการขอทำประกันชีวิตของคุณ

ทางเลือกประกันภัยสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

ถึงแม้ผู้สูบบุหรี่จะนับว่าเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง และกรมธรรม์ปกติอาจปฏิเสธความคุ้มครองต่อบุคคลประเภทนี้ แต่ยังมีประกันทางเลือกอื่นๆ ที่เราอยากแนะนำ เพื่อความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์สูงสุด

ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพเป็นแผนที่คุ้มครองสุขภาพของผู้ทำประกัน ช่วยจัดการเรื่องค่ารักษาพยาบาล และจ่ายเงินก้อนเมื่อมีการเสียชีวิตด้วยโรค

เพิ่มเติม

ประกันชีวิต

ประกันชีวิต ส่วนใหญ่เน้นการจ่ายเงินเมื่อมีการเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินก้อนหลังจากการเสียชีวิตของผู้ทำประกัน เพื่อมาใช้จัดการศพ

เพิ่มเติม

เลือกประกันชีวิต ทำไมต้อง Tadoo

เมื่อชีวิตคนเราไม่อาจหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ การทำประกันภัยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยคุ้มครองความเสี่ยงของคุณ ทำประกันออนไลน์ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน กับ Tadoo

เช็คเบี้ยประกัน

ระดับความเสี่ยงของอาชีพแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ระดับความเสี่ยงมีผลต่อการพิจารณาประกันภัย โดยจะมีการแบ่งชั้นอาชีพในการรับประกันภัยจะแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่

อาชีพชั้น 1 ส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน
เช่น นักเรียน – นักศึกษา, ข้าราชการ, ครู, อาจารย์, แคชเชียร์ (พนักงานเก็บเงิน), ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ, แพทย์ หรือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ในสำนักงานเท่านั้น / ธนาคาร / บริษัทประกัน เป็นบุคคลที่มีอาชีพปกติที่มีความเสี่ยงต่ำ เบี้ยประกันจะถูกกว่ากลุ่มคนที่มีอาชีพความเสี่ยงสูง

อาชีพชั้น 2 ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา
เช่น นักดนตรี, นักร้อง, เจ้าของ กองมรดก / บ้านจัดสรร / บ้านเช่า / สวน (ไม่ได้ลงมือทำ) ช่างภาพ, นักข่าว

อาชีพชั้น 3 ปฏิบัติงานด้านช่าง กระบวนการผลิต ที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ใช้แรงงาน การเดินทาง หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ

อาชีพชั้น 4 อาชีพพิเศษที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ เช่น นักแสดงผาดโผน
อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง อาจเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงอาจถูกปฏิเสธการรับประกันภัย ควรศึกษารายละเอียดจากบริษัท

ในการแบ่งชั้นอาชีพดังที่กล่าวมาแล้ว อาชีพชั้น 1 จะเป็นชั้นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยต่ำที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะต่ำกว่าอาชีพชั้นอื่น ๆ ในขณะที่อาชีพชั้น 4 เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยสูงที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ หรืออาจถูกปฏิเสธตามการพิจารณาของบริษัท

เสียงจากผู้ใช้งานจริง ส่วนใหญ่ต่างพึงพอใจ





4.7/5

17,258 รีวิว

ความเสี่ยงใดบ้างที่มีผลต่อประกันภัย?

ในการพิจารณารับประกันภัยจะต้องเป็นไปตามหลักการของการประเมิน และจัดระดับความเสี่ยงภัยของผู้ขอเอาประกันภัยที่เป็นไปอย่างถูกต้อง ยุติธรรม และเพื่อเป็นการกำหนดเบี้ยประกันที่เหมาะ ดังนั้นการพิจารณารับประกันภัยจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งประกอบด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับสุขภาพ (Medical Risk) / และไม่ใช่สุขภาพ (Non – medical Risk)

สภาวะสุขภาพของผู้ขอเอาประกันภัย ซึ่งผู้พิจารณา จะต้องประเมินจากข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพิจารณาปัญหาด้านสุขภาพ และแนวโน้มของสุขภาพในอนาคตด้วย โดยจะพิจารณาข้อมูลจากปัจจัยเสี่ยงทางการแพทย์ (Medical Factors) ดังนี้

อายุ, เพศ, ส่วนสูง และน้ำหนัก, ประวัติสุขภาพส่วนตัว, ประวัติสุขภาพของครอบครัว, ความไม่สมประกอบของร่างกาย หรือความบกพร่องของสุขภาพ, การสูบบุหรี่, การเสพสารเสพติดและ การดื่มสุรา

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพ (Non – medical Risk)
นอกจากปัญหาสุขภาพแล้วที่อยู่อาศัยของผู้ทำประกันก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา โดยบริษัทจะพิจารณาจากที่อยู่อาศัยของผู้ทำประกันชีวิตในประเทศของตนเองเป็นหลัก เพราะในกรณีที่ผู้ขอเอาประกันภัยที่มีแนวโน้มที่ต้องเดินทางไปยังส่วนต่างๆของโลก ก็จะมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยงทางการเงิน (Financial Factors)

ข้อมูลทางการเงินเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความจำเป็นและความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันภัย กรณีผู้ขอเอาประกันภัยมีฐานะทางการเงินดี ก็จะมีความสามารถทำประกันชีวิตในทุนประกันที่สูงได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ขอเอาประกันภัยมีฐานะทางการเงินไม่ดีก็จะมีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันที่ต่ำลง

ปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Factors)

อาชีพ (Occupation Risk) อาชีพมีผลต่อแนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เสียชีวิต เพราะบางคนอาจจะประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง หรือความเสี่ยงด้านงานอดิเรกที่มีลักษณะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตสูง เช่นการปีนเขา นักมวย โดดร่ม

วิธีการลดความเสี่ยงของการทำประกันชีวิต

ต้องยอมรับว่าในปัจจัยเสี่ยงบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุหรือประวัติทางการแพทย์ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สามารถลดหรือลบออกได้จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

– การหยุดสูบบุหรี่ หรือการสูบบุหรี่ให้น้อยลง
– การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย จะทำให้มีสุขภาพดีขึ้น
– ยกเลิกงานอดิเรกที่มีความเสี่ยงสูง
– การเปลี่ยนอาชีพหรือย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ที่ทำให้ความเสี่ยงของคุณลดลง

หมายเหตุ คุณควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่บริษัทประกันภัยเสมอ หากคุณทำให้เข้าใจผิดหรือปกปิดข้อมูลที่สำคัญแก่บริษัท กรมธรรม์ขอคุณอาจถูกยกเลิก และเบี้ยประกันของคุณอาจหายไป

ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต

ประเภทของประกันชีวิต

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันชีวิต

รับใบเสนอราคา ประกันชีวิต

เช็คเบี้ยประกัน