Connect with us

ประกันชีวิตอะไรบ้างที่นำมาลดหย่อนภาษีได้

การทำประกันชีวิตไม่ได้มีประโยชน์แค่รับความคุ้มครองชีวิต แต่ยังได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย

ประกันชีวิตช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างไร

ภาษี คือเงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชน ซึ่งทุกคนต้องจ่ายภาษีทั้งที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เป็นภาษีที่ได้บวกเพิ่มไปกับการซื้อขายสินค้า และภาษีเงินได้ที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีรายได้ตามที่รัฐบาลกำหนด เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันกรมสรรพากรยินยอมให้ผู้มีรายได้สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 300,000 บาทต่อปี แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่เบี้ยประกันชีวิตจากกรมธรรม์ทุกแบบที่จะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ แต่จะต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งแบบกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ใช้สิทธิได้ รวมถึงข้อกำหนดการหักลดหย่อนภาษีของแต่ละแบบ

จุดเด่น

  • ประกันชีวิตที่ลดภาษีได้ต้องเป็นมีความคุ้มครอง 10 ขึ้นปี
  • ประกันชีวิตที่ลดภาษีได้ต้องอยู่ในประเทศไทย
  • การยกเลิกสัญญาประกันก่อนกำหนดทำให้สิทธิการลดหย่อนภาษียกเลิกไปด้วย

ประกันชีวิตอะไรบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าทำประกันชีวิตในทุกรูปแบบนั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ในความจริงแล้วกฎหมายได้ระบุถึงประเภทของประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ประกันชีวิตทั่วไป ประกอบไปด้วย
– ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
– ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term)
– ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
– ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked)

2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันภัยอื่นๆ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ – นอกจากการทำประกันชีวิตแล้ว ประกันภัยประเภทอื่นๆ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เช่น ประกันสุขภาพ ซึ่งเงื่อนไขของประกันสุภาพที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น ต้องเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บปวดและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 ต่อปี และต้องเป็นประกันที่ทำกับบริษัทประเทศไทย นอกจากนี้ก็ยังมีประกันภัยอื่นๆ เช่น ประกันอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก, ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตทั่วไป

ถึงแม้ประกันชีวิตแบบทั่วไปและประกันชีวิตแบบบำนาญจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามกฎหมายได้ก็จริง แต่ก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดด้วยว่ามีลักษณะที่ตรงตามกำหนดหรือไม่โดยเงื่อนไขทั่วไปของประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มีดังนี้

– ประกันชีวิตระยะยาว: ต้องเป็นการทำประกันชีวิตแบบระยะยาวที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี
– บริษัทประกันในประเทศไทย: เป็นประกันชีวิตที่ได้ทำกับบริษัทภายในประเทศไทยเท่านั้น
– ประกันแบบรับเงินคืน ต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี :หากเป็นประกันชีวิตที่ได้รับเงินคืนทุกปี เงินที่ได้รับคืนนั้นต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี
– ประกันชีวิตแบบรับเงินคืนรอบปีที่กำหนด เช่น หากมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น จ่ายคืนทุกๆ 3 ปี ของเบี้ยสะสมในแต่ละช่วง
– การยกเลิกสัญญาประกันภัยก่อนกำหนด 10 ปี จะไม่สามารถนำกรมธรรม์ฉบับนั้นมาลดหย่อนภาษีได้อีก

“หากคุณมีกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบระยะยาวที่คุ้มครองชีวิตตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป สามารถใช้ประกันชีวิตฉบับนั้นมาลดหย่อนภาษีได้ แต่หากปีไหนที่คุณได้ทำการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับนั้นไปแล้วสิทธิในการลดหย่อนภาษีของคุณก็จะถูกยกเลิกไปด้วย”

สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบทั่วไป

การทำประกันชีวิตของแต่ละบุคคลมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจทำประกันชีวิตไว้คุ้มครองชีวิตของตนเอง รับเงินบำนาญเมื่อกรมกำหนด บางคนอาจทำเพื่อเป็นมรดกให้กับลูกหลาน สำหรับบางที่มีวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี ในการทำประกันชีวิตที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นการทำประกันชีวิตระยะยาวที่ให้ความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยสามารถนำลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง รวมกับเงินฝากแบบมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพตัวเอง (ไม่เกิน 15,000 บาท) แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ต้องเป็นคู่ที่แต่งกันมาทั้งปีแล้ว ไม่ได้เพิ่งแต่งปีนี้ ซึ่งจะลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

การยกเลิกสัญญาประกันภัยก่อนกำหนด 10 ปี จะไม่สามารถนำกรมธรรม์ฉบับนั้นมาลดหย่อนภาษีได้อีก

การใช้กรมธรรม์ประกันชีวิตในการลดหย่อนภาษีนั้นถือเป็นเพียงผลประโยชน์พลอยได้จากความคุ้มครองหลัก ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงในการเลือกกรมธรรม์นั้นควรพิจารณาจากความคุ้มครองที่ได้รับและเบี้ยประกันที่คุณต้องจ่ายก่อนเสมอ

สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญ

หากบางคนทำประกันชีวิตเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อรับเงินบำนาญที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น มีเงื่อนไขคือการลดหย่อนภาษีสำหรับประกันชีวิตแบบรับเงินบำนาญต้องประประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป ก็คือสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปโปะในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 ได้ เมื่อรวมกับ RMF / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน / กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

รู้หรือไม่การทำประกันชีวิตยังช่วยลดหย่อนภาษีมรดกได้อีกด้วย

ภาษีมรดกคือภาษีที่รัฐบาลเก็บจากทายาทหรือผู้ที่ได้รับมรดกหลังจากที่เจ้าของมรดกได้เสียชีวิตไปแล้ว ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยอัตราการเสียภาษีที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวกันหรือหลายคราวที่ได้รับจากเจ้าของมรดกแต่ละรายมูลค่ารวมกันไม่เกิน 100 ล้านบาท หากผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน ลูก หลาน เหลน เป็นต้น จ่ายภาษี ร้อยละ 5 หากเป็นบุคคลอื่นจ่ายภาษี ร้อยละ 10 และหากเจ้าของมรดกได้ทำประกันชีวิตที่เข้าเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีนั้นผู้รับมรดกจะไม่ต้องเสียภาษีจากมรดกก้อนนั้น

ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต

ประเภทของประกันชีวิต

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันชีวิต