วิธีเคลมประกันชีวิต
เมื่อผู้ซื้อประกันชีวิตต้องการเบิกค่าสินไหมทดแทน สามารถดำเนินการจัดเตรียมเอกสารส่งไปยังบริษัทประกันฯตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
เมื่อผู้ซื้อประกันชีวิตต้องการเบิกค่าสินไหมทดแทน สามารถดำเนินการจัดเตรียมเอกสารส่งไปยังบริษัทประกันฯตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
จุดประสงค์หลักของการทำประกันชีวิตคือสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จากบริษัทประกันภัยเมื่อมีการเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ และเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รักหลังจากที่ผู้ทำประกันได้เสียชีวิตลง การเคลมประกันชีวิต คือหน้าที่ที่ผู้แทนหรือผู้รับประโยชน์ต้องดำเนินการเพื่อเรียกร้องเงินชดเชยจากบริษัทประกัน เมื่อผู้ทำประกันชีวิตเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อร่างกาย หรือชีวิต การทำตามวิธีเคลมประกันอย่างถูกวิธีซึ่งจะช่วยให้ผู้รับผลประโยชน์ ได้รับการชดเชยจากบริษัทฯได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยให้เร็วที่สุด เมื่อผู้ทำประกันได้เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ ในระยะเวลาประกันภัย เป็นเหตุให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ หากผู้แทนหรือผู้รับประโยชน์ทราบว่าผู้ทำประกันได้ทำประกันชีวิตไว้ที่ใดบ้างให้ผู้เอาประกันหรือผู้แทนติดต่อบริษัทประกันเพื่อยื่นขอสินไหมทดแทนโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง แต่หากผู้ทำแทนไม่ทราบว่าผู้ตายได้ทำประกันชีวิตไว้ที่ไหนบ้างให้ดำเนินการดังนี้
ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดเลยทราบว่า “ผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่อย่างไร”
ทายาทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิตได้ที่ “สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการตรวจสอบโดยเมื่อ คปภ. ตรวจสอบแล้ว จะแจ้งว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันหรือไม่ ทำไว้กับบริษัทประกัน ใดบ้าง
เอกสารประกอบคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิต
– ใบมรณบัตรของผู้เสียชีวิตที่ต้องการตรวจสอบ
– สำเนาทะเบียนบ้านและบัตร ปชช. ของผู้ยื่นคำร้อง
ทั้งนี้ คปภ. จะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ 2-3 สัปดาห์
หลังจากผู้ทำประกันได้เสียชีวิตลงแล้ว และผู้รับประโยชน์หรือผู้แทนได้แจ้งไปยังบริษัทประกันถึงการเสียชีวิต ให้ผู้รับประโยชน์หรือผู้แทนจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำประกันทั้งหมดให้ครบถ้วนเพราะเอกสารถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการยื่นสินไหมทดแทนนอกจากจะใช้เป็นสิ่งยืนยันการทำประกันแล้ว ยังเป็นหลักฐานที่แสดงชื่อผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์อีกด้วย โดยผู้รับประโยชน์จะต้องยื่นต่อบริษัทภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันความผิดพลาดและความล่าช้าในการเบิกจ่ายสินไหมทดแทน
“เพื่อป้องกันการปฏิเสธความคุ้มครอง ก่อนการยื่นขอเบิกค่าสินไหมทดแทนทุกครั้งควรตรวจสอบเงื่อนไข ข้อยกเว้นความคุ้มครองให้แน่ใจก่อนว่าคุณมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามเงื่อนไขหรือยัง”
หลังจากที่ได้จัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วให้ผู้เอาประกันภัย/ผู้รับผลประโยชน์ หรือผู้แทน ตรวจสอบที่อยู่และวิธีที่การจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ของแต่ละบริษัทให้ถูกต้องตามที่บริษัทระบุไว้ โดยแต่ละบริษัทจะมีวิธีการในการรับเอกสารที่แตกต่างกัน เมื่อเอกสารถึงไปยังบริษัทแล้วอาจมีการติดต่อกลับมาเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณีไป ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยป้องกันความผิดพลาดและการล่าช้าคือตรวจสอบเอกสารให้ดีก่อนส่งและควรส่งตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้วจะได้แก้ไขได้ทัน
การเลือกแผนประกันชีวิตที่เหมาะสมและรอบคอบ จะส่งผลในการเบิกค่าสินไหมทดแทนที่คุ้มค่ากับเบี้ยประกันราคาที่จ่ายไป
หลังจากผู้รับประโยชน์/ผู้แทนได้จัดเตรียมเอกสารและส่งไปยังบริษัทประกันเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นมีสองกรณีคือ
1. บริษัทติดต่อกลับเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
2. เอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ หากเอกสารเสร็จสมบูรณ์บริษัทจะทำการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยระยะเวลาการพิจารณานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท หากไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ บริษัทจะทำการอนุมัติและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ หรือหากผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่ได้ระบุไว้แทน
เอกสารประกอบการเคลมประกันเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อต้องการยื่นเบิกจ่ายสินไหมจากบริษัทประกันฯ โดยประเภทเอกสารก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุการสิ้นสุดสัญญาของผู้เอาประกันภัยโดยสาเหตุหลักๆ ที่สามารถเคลมประกันภัยได้มีดังนี้
1. เสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ
**ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยภายใน 14 วัน และเตรียมเอกสารดังนี้
– กรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าเอกสารกรมธรรม์หายผู้เอาประกันสามารถไปแจ้งความแล้วนำสำเนา รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไปแสดงแทน)
– ใบเสร็จรับเงินงวดสุดท้าย
– ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย
– ทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
– บัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์
2. เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย
* เตรียมหลักฐานตามข้อ 1 โดยเพิ่ม
– สำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
– ใบชันสูตรพลิกศพ
3. เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
* เตรียมหลักฐานตาม 1 โดยเพิ่ม
– สำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
– สำเนาบันทึกประจำวันหลังกลับจากสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
– ใบชันสูตรพลิกศพ