คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ที่มีสภาพความเจ็บป่วย หรือโรคประจำตัวมาก่อนการเอาประกันภัย ตามสถิติเป็นบุคคลที่มีอัตราเสี่ยงจากโรคสูง ซึ่งการที่บริษัทประกันจะยอมรับความเสี่ยงนั้นถือเป็นเรื่องยาก แต่ประตูก็ไม่ได้ปิดตายเสียทีเดียว บุคคลเหล่านี้ยังมีโอกาสทำประกันชีวิตอยู่ เพราะมีเงื่อนไขข้อยกเว้นให้ผู้มีโรคประจำตัวสามารถทำประกันชีวิตได้ เช่น แจ้งสภาพของโรคก่อนทำประกันให้บริษัทพิจารณา, การทำประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น
สิ่งที่ผู้มีสภาพที่เป็นมาก่อนควรจะต้องคำนึงเมื่อจะทำประกันชีวิตคือ บริษัทมีเงื่อนไขข้อยกเว้นจะไม่จ่ายเงินชดเชยการเสียชีวิตจากสภาพที่เป็นมาก่อน เว้นแต่จะได้รับการยินยอมการรับประกันภัยจากทางบริษัทซึ่งต้องระบุในกรมธรรม์ก่อนการทำประกันชีวิต ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำประกันชนิดอื่นๆ เสริมจากประกันชีวิตไปด้วย เช่น ประกันโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น
เช็คราคาเบี้ยประกันชีวิตพร้อมเปรียบเทียบความคุ้มครองและรูปแบบของกรมธรรม์ได้ดังนี้
กดเลือกได้เลยว่าอยากได้ความคุ้มครองแบบไหน
ระบุข้อมูลซื้อกรมธรรม์ เช่น วัน/เดือน/ปีเกิด, อายุ, ข้อมูลการติดต่อ
กรอกข้อมูลที่จำเป็นและตอบคำถามสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงข้อมูลสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกัน
8,247 รีวิว
สภาพที่เป็นมาก่อน อธิบายเข้าใจง่าย ๆ คือความผิดปกติของร่างกาย ไม่ว่ากรณีใด ๆ รวมถึงความเจ็บป่วย โรคประจำตัวที่แพทย์วินิจฉัยแล้ว หรือเคยป่วยจากโรคนั้น ๆ ก่อนมาทำประกันชีวิต
การทำประกันชีวิตสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจมีเงื่อนไขการเอาประกันที่แตกต่างกับผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ ดังนั้นหากคุณไม่แน่ใจว่าโรคของคุณมีผลต่อการทำหรือรับประโยชน์จากประกันชีวิตอย่างไรควรสอบถามจากบริษัทประกันที่ต้องการจะซื้อ
ถึงแม้ปัจจุบันจะเปิดโอกาสให้ผู้มีโรคประจำตัวสามารถทำประกันชีวิตได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด โดยจะแบ่งการทำประกันชีวิตออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
ผู้มีโรคประจำตัวไม่ต้องกังวล บางบริษัทคุณสามารถซื้อประกันชีวิตรูปแบบปกติได้ แต่สำคัญคือ ต้องแจ้งสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกันให้บริษัทประกันทราบ โดยระบุในใบคำขอทำประกัน เช่น ป่วยเป็นความดัน เบาหวาน ไซนัส แ
ข้อมูลของโรคบริษัทจะเอาไปพิจารณา หากสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทประกันรับไหว หรือปัญหาสุขภาพที่ป่วยนั้นไม่ถึงขั้นร้ายแรง บริษัทก็จะพิจารณาอนุมัติ ปกติจะมี 4 กรณี คือ
1) อนุมัติ แต่เบี้ยประกันจะแพงขึ้นกว่าปกติ เพราะถือว่าคุณมีความเสี่ยงกว่าคนทั่วไป บางคนเบี้ยประกันแพงขึ้น 20% บางคนแพงขึ้นเท่าตัว
2) อนุมัติ แต่ไม่คุ้มครองโรคที่เราเป็นมาก่อน
3) เลื่อนการรับประกัน เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อประกันเพิ่งหายจากโรคมาหมาด ๆ บริษัทต้องการเฝ้าดูอาการของโรคอีกสักระยะว่าจะกำเริบหรือไม่ อาจใช้เวลาครึ่งปีหรือหนึ่งปี ผู้ซื้อประกันค่อยลองยื่นของทำประกันชีวิตใหม่
4) ปฏิเสธทำประกัน ผู้ซื้ออาจต้องหาแผนประกันหรือบริษัทประกันใหม่
ประกันชีวิตผู้สูงอายุ เป็นแผนประกันชีวิตทางเลือกสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-75 ปี (ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท) ประกันชีวิตผู้สูงอายุทำได้ง่ายแม้แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวเพราะไม่ต้องตรวจสุขภาพ และเบี้ยประกันค่อนข้างถูกกว่าประกันภัยชนิดอื่นๆ พิจารณาสินไหมทดแทนจากระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกัน
ทั้งนี้ผู้สูงอายุโปรดเช็กเงื่อนไขของโรคให้ดีว่า สภาพโรคแบบไหน ป่วยเมื่อใด ที่ประกันผู้สูงอายุไม่คุ้มครอง เพื่อว่าเมื่อถึงคราวป่วยจะได้เคลมประกันได้
ไม่ว่าจะมีสภาพแบบไหนมาก่อนก็สามารถทำประกันชีวิตได้ แต่ทั้งนี้ประกันจะให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขและข้อกำหนด
Top tip: การทำประกันชีวิตกับสภาพที่เป็นมาก่อนนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่แตกต่างจากผู้ซื้อประกันที่มีสุขภาพแข็งแรง
tadoo.co ได้รวบรวมข้อมูลของกรมธรรม์ประกันชีวิตพร้อมเปรียบเทียบราคาเบี้ยประกันและความคุ้มครองเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคุณ ทั้งนี้ ราคาเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกันเช่นกัน สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีอายุ 50-75 ปี สามารถทำประกันชีวิตได้ทันโดยไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพโดยสามารถทำได้ 2 รูปแบบดังนี้
ประกันรูปแบบที่ 1 ประกันแบบรับมรดกหลังจากการเสียชีวิต หรือหมดสัญญา
ทุนประกันเริ่มต้นที่ 75,000 ถึงหลักแสนบาท
ตัวอย่าง ทุนประกัน 100,000 บาท
อายุ 50 ปี ผู้หญิง 5,xxx ผู้ชาย 6,xxx
ประกันรูปแบบที่ 2 ประกันแบบได้รับเงินคืนระหว่างสัญญา
ทุนประกันเริ่มต้นที่ 50,000 ถึงหลักแสนบาท
ตัวอย่าง ทุนประกัน 100,000 บาท
อายุ 50 ปี ผู้หญิง 6,xxx ผู้ชาย 7,xxx
** ผู้มีโรคประจำตัวที่ต้องการทำประกันในรูปแบบปกติ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มและเงื่อนไขการเพิ่มเบี้ยประกันจากบริษัท
ประกันชีวิตมีมากมายหลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบจะมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป โดยเบื้องต้นประกันชีวิตจะมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่
แผนประกันที่คุ้มครองยาวนานมาก ถึงอายุ 90 ปี 99 ปี เรียกว่าตลอดชีพคงไม่ผิดนัก วิธีได้เงินผลประโยชน์คือเมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต ผู้ที่ถูกระบุชื่อรับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ก็จะได้รับเงินก้อนนั้นไป
รับเงินชดเชยเมื่อได้รับบาดเจ็บที่ส่งผลให้ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ประกอบอาชีพไม่ได้
ประกันจะคุ้มครองแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่นาน เช่น 5 ปี 10 ปี เมื่อเสียชีวิตในเวลานั้น ผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินคืน แต่ถ้าครบกำหนดสัญญาแล้วไม่เสียชีวิต จะไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเลย เบี้ยประกันจึงถูก ข้อดึคือความคุ้มครองสูง
ประชีวิตที่คุ้มครองผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินค่าสินไหมกรณีเสียชีวิต สามารถส่งต่อเป็นมรดกให้ลูกหลานได้
สภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกัน (Pre-existing Condition) คือสภาพความผิดปกติทางร่างกายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ กำลังรักษากับแพทย์อยู่ เข้าใจง่าย ๆ คือความป่วยไข้ของโรคที่กำลังเป็นอยู่ก่อนที่จะซื้อประกัน คนละส่วนกับระยะเวลารอคอย (Waiting period) เพราะระยะเวลารอคอย เป็นเงื่อนไขของประกันที่เกิดขึ้นแล้วหลังจากซื้อประกัน โดยบริษัทประกันชีวิต จะกำหนดระยะเวลารอคอยขึ้นมา เพื่อเฝ้าระวังว่าช่วงเวลาดังกล่าวผู้ซื้อประกันจะมีอาการป่วยหรือกำเริบของโรคเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าเกิดในช่วงเวลานี้ บริษัทประกันจะไม่คุ้มครอง
โดยทั่วไประยะเวลารอคอยแตกต่างกันตามแต่บริษัท บางที่ 20 วัน บางที่ 40 วัน หลังจากพ้นช่วงระยะรอคอยไปแล้ว กรมธรรม์จะคุ้มครองผู้ซื้อประกันตามปกติ
แต่สิ่งที่เหมือนกันในทางประกันภัยของสองเงื่อนไขนี้คือ บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้สำหรับการเจ็บป่วยใดๆ ที่เกิดขึ้นในระยะการรอคอย หรือ จากสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน
กรณีที่เคยเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน จะต้องได้รับการพิจารณาจากทางฝ่ายพิจารณารับประกันโดยจะประเมินความเสี่ยงจากประวัติการรักษาภายในระยะเวลา 5 ปีและเอกสารยืนยันทางการแพทย์ ในการอนุมัติการซื้อประกัน
ความคุ้มครองที่เกี่ยวกับโรคภัยจะเริ่มมีผลหลังจากเลยช่วงที่เรียกว่า “ระยะเวลารอคอย”เพราะบริษัทอาจมีความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลสุขภาพ จึงจำเป็นต้องกำหนดระยะเวลารอคอยที่เหมาะสม ซึ่งระยะเวลารอคอยก็มีตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 120 วัน