ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัย
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณหรือมรดกสำหรับลูกหลาน อาจพิจารณาประกันภัยที่เฉพาะเจาะจง เช่น ประกันผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณหรือมรดกสำหรับลูกหลาน อาจพิจารณาประกันภัยที่เฉพาะเจาะจง เช่น ประกันผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ คือ ช่วงวัยระดับบั้นปลายของชีวิต โดยช่วงอายุที่เรียกว่าผู้สูงอายุ คือ วัย 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งได้หมายความว่ารวมกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มมีการเสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะเป็นสมรรถภาพทางการมองเห็น การเดิน หรือการได้ยินที่ลดน้อยลง รวมไปถึงรูปร่างหน้าตา และผิวพรรณที่เปลี่ยนสภาพไป ซึ่งระดับความเสื่อมสภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกันตาม กรรมพันธุ์ วิถีการใช้ชีวิต การกินอาหาร และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้เราเห็นว่ายังมีผู้สูงอายุบางท่านที่ยังดูอ่อนกว่าวัย และยังมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่ ในทางประกันภัยแล้วผู้สูงอายุถือว่าเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงกว่าวัยรุ่น ทำให้เบี้ยประกันภัยสำหรับผู้สูงวัยนั้นสูงกว่าในวัยที่อ่อนวัยกว่านั่นเอง
ทางเลือกที่ 1 ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ – สำหรับผู้สูงวัยอายุ 60 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 75 ปี สามารถเลือกทำประกันชีวิตในรูปแบบ ประกันชีวิตตลอดชีพได้ เพราะเงื่อนไขของประกันชนิดนี้คือสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 3 ปี ขึ้นไป จนถึงอายุ 75 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองจนถึง 90 ปี ไปจนถึง 99 ปี เงื่อนไขขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
ทางเลือกที่ 2 ทำประกันผู้สูงวัย – เป็นทางเลือกสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องการวางแผนมรดกให้ลูกหลาน หรือค่าใช้จ่ายในการจัดการศพหลังจากที่ได้เสียชีวิต สามารถทำได้ตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป จนถึง 75 ปี ที่คุณจะได้รับเงินชดเชยหลังจากการเสียชีวิต ในปีที่ 2 เป็นต้นไปของอายุกรมธรรม์ หรือหากผู้ทำประกันอยู่จนครบสัญญาเมื่ออายุ 90 ปี ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อใช้เป็นเงินบำนาญให้กับตนเองได้อีกด้วย
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำประกันชีวิตนั้น ผู้ที่มีอายุเยอะย่อมจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย และหากคุณเป็นบุคคลที่มีอายุเยอะและต้องการประกันชีวิตทางเลือกที่ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันแพงแต่ได้รับความคุ้มครองสูง สามารถทำประกันสำหรับผู้สูงวัยได้โดยเฉพาะที่เรียกว่า “ประกันผู้สูงอายุ” สามารถทำได้ตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป จนถึง 75 ปี ที่คุณจะได้รับเงินชดเชยหลังจากการเสียชีวิต ในปีที่ 2 เป็นต้นไปของอายุกรมธรรม์ หรือหากผู้ทำประกันอยู่จนครบสัญญาเมื่ออายุ 90 ปี ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อใช้เป็นเงินบำนาญให้กับตนเองได้อีกด้วย ประกันชนิดนี้ที่มีเบี้ยประกันถูก และไม่ต้องตรวจสุขภาพ
“การพิจารณาทำประกันชีวิตในวัยที่อายุมากแล้วอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันที่มีราคาสูง และบางคนก็มีโรคประจำตัวซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ประกันชีวิตบางประเภทปฏิเสธความคุ้มครอง แต่การทำประกันชีวิตที่เจาะจงสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ สามารถทำได้ในเบี้ยประกันที่ต่ำกว่าและไม่ต้องตรวจสุขภาพ”
ประกันชีวิตผู้สูงอายุเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีเป็นต้นไป สามารถทำได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ ในระยะเวลา 2 ปี แรกของสัญญากรมธรรม์จะเน้นจ่ายเงินชดเชยหลังจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่หากเสียเสียชีวิตหลังจากปีที่สามจะได้รับเงินชดเชยจากการเสียชีวิตทุกกรณี และหากอยู่ครบสัญญาในอายุ 90 ปี ก็จะได้รับเงินก้อนสำหรับใช้ในวัยเกษียณเช่นกัน ประกันชนิดนี้จะไม่รวมค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วย ยกเว้นการซื้อประกันภัยในพ่วงประกันสุขภาพอื่นๆ เงื่อนไขทั้งหมดควรศึกษา จากกรมธรรม์ของบริษัทประกันอย่างรอบคอบ
ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตด้วยโรคใดๆ ก็ตาม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำประกัน ไม่รวมการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ผู้ถือกรมธรรม์จะไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทน แต่จะได้รับเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมดคืน บวกเพิ่ม 2% **ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ของแต่ละบริษัท
เป็นแผนประกันชีวิตที่ผู้สูงอายุที่มีอายุไม่เกิน 70 หรือ 75 ปี ในบางบริษัทสามารถเลือกรับความคุ้มครองได้ ระดับเบี้ยประกันก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น จ่ายเบี้ยประกันระยะสั้น เช่น 5 ปี 7 ปี 15 ปี หรือ 20 ปี ได้รับความคุ้มครองในระยะยาว เบี้ยประกันคงที่ตามอายุของผู้ทำประกัน ผู้ทำประกันจะได้รับความคุ้มครองตลอดชีพจนถึงอายุ 90 – 99 ปี ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยเมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิตไม่ว่าจะเสียชีวิตในปีไหน หากสิ้นสุดสัญญาประกันภัยและผู้ทำประกันยังมีชีวิตอยู่รับเงินก้อน 100% จากทุนประกันภัย
การทำประกันชีวิตผู้สูงอายุสามารถเลือกทำได้หลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของแต่ละคน สำหรับบางคนอาจทำเพื่อใช้เป็นเงินมรดกสำหรับลูกหลาน สำหรับบางคนสามารถเลือกกรมธรรม์ในรูปแบบที่สามารถรับเงินบำนาญได้เมื่อครบรอบกำหนดการรับเงินบำนาญ เช่น กำหนดอายุรับเงินบำนาญที่อายุ 60 ปี โดยผู้ทำประกันจะได้รับเงินก้อนปีละ 15% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่วันครบรอบปีกรมธรรม์ที่อายุครบ 60 ปี ไปจนถึงอายุครบ 90 ปี แต่ในกรณีที่เสียชีวิตโดยที่ยังรับเงินบำนาญไม่ครบ 20 ปี บริษัทจะจ่ายเงินบำนาญที่เหลืออยู่ในครั้งเดียว โดยมูลค่าจะเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินบำนาญที่ยังไม่ได้จ่าย