อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบุหรี่เป็นภัยคุกคามสุขภาพของมนุษย์ดังนั้นผู้สูบบุหรี่จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่าคนปกติ การที่บริษัทจะรับประกันชีวิตแก่ผู้สูบบุหรี่นั้นถือเป็นเรื่องยาก เพราะผู้สูบบุหรี่ถือเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็ยังมีเงื่อนไขบางประการที่คนสูบบุหรี่ในปริมาณที่กำหนด สามารถทำประกันชีวิตได้ และยังมีประกันชีวิตบางประเภทที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เช่นประกันการเดินทาง ประกันผู้สูงอายุ จึงเป็นทางเลือกที่ดีแก่ผู้สูบบุหรี่ และในการทำประกันชีวิตทั่วไปที่ผู้ทำประกันควรแจ้งให้แก่บริษัททราบในใบแถลงคำขอเอาประกันภัยก่อนจะมีการตกลงการรับประกันภัย คือ การตอบคำถามเรื่องสุขภาพ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ตัวอย่างคำถามที่คุณต้องตอบ เช่น คุณสูบบุหรี่หรือไม่ , สูบกี่ม้วนต่อวัน, สูบบุหรี่เป็นระยะเวลากี่ปี ซึ่งคำถามเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อการพิจารณารับประกันภัย และมีผลต่อเบี้ยประกันภัย แต่หากคุณละเว้นคำตอบ ในคำถามใดๆไว้ ก็อาจมีสิทธิ์ที่จะถูกปฏิเสธการทำประกันภัยนั้นๆ
ถึงแม้ผู้สูบบุหรี่จะนับว่าเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง และกรมธรรม์บางประเภทปฏิเสธความคุ้มครองต่อบุคคลประเภทนี้ แต่ยังมีทางเลือกอื่นๆ สำหรับผู้ที่ต้องการทำประกันเพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้อื่นในอนาคต
เจ็บป่วย บาดเจ็บเข้าโรงพยาบาล ให้ประกันสุขภาพดูแล ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
เป็นรูปแบบประกันชีวิตที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป ทายาทหรือผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินก้อนหลังจากการเสียชีวิตเพื่อใช้จัดการศพ หรือเป็นเงินมรดก
เพราะเราเข้าใจว่าอาจเป็นเรื่องยากในการเลิกสูบบุหรี่ Tadoo จึงมีข้อเสนอประกันภัยทางเลือกมากมายที่ผู้สูบบุหรี่สามารถได้รับความคุ้มครอง
หากคนเป็นคนหนึ่งที่อยากทำประกันชีวิตและประกันภัยประเภทอื่นๆ แต่ติดปัญหาตรงที่ว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่สูบบุหรี่อย่าเพิ่งหมดหวังยังมีเงื่อนไขบางประการที่คุณยังสามารถทำประกันภัยได้ดังนี้
1. การแถลงการณ์เป็นผู้เลิกสูบบุหรี่
เช่นหากคนเป็นคนหนึ่งที่สูบบุหรี่และสามารถเลิกสูบได้แล้ว และต้องการทำประกันชีวิต เพียงแถลงเป็นผู้ไม่สูบบุหรี่ออนไลน์ เช่นเมื่อคุณเลิกบุหรี่ได้นานอย่างน้อย 3 เดือน ครั้ง 2 ครั้งต่อปี ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
2. สูบบุหรี่ในปริมาณที่เหมาะสม
ยังมีบางบริษัทที่รับพิจารณาผู้สูบบุหรี่ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น มีเงื่อนไขที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้เอาประกันต้องไม่สูบบุหรี่มากกว่า กี่ม้วนต่อวัน ติดต่อเป็นระยะเวลา กี่ปี หากคนเป็นบุคคลที่อยู่ในเงื่อนไขของบริษัทก็สามารถทำประกันชีวิตได้
3. เลือกประกันภัยอื่นๆ ที่ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ / ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
หากคุณติดบุหรี่ขั้นรุนแรงและไม่สามารถเลิกสูบได้ ยังมีประกันภัยบางรูปแบบที่คุณไม่ต้อง ตรวจสุขภาพ หรือตอบคำถามสุขภาพใดๆ แต่ประกันประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะไม่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพ หรือการคุ้มครองโรค จะเน้นจ่ายเมื่อเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเท่านั้น เช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยผู้สูงวัย เป็นต้น
15,567 รีวิว
1. มะเร็ง – จากสถิติในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 เนื่องจากมักพบเมื่อเป็นระยะกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด คือการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
2. ถุงลมโป่งพอง – หากสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควันที่มีสารพิษจะไปทำลายผนังถุงลม ส่งผลให้เกิดภาวะถุงลมบวมอักเสบ และฉีกขาด ไม่สามารถฟอกเลือดได้ตามปกติ และถ่ายออกซิเจนให้เลือดดำ
3. ปอดบวม – โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ คือ ภาวะติดเชื้อในปอด จาก 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา เกิดจากการหายใจเอาสารที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง เช่น ฝุ่น สารเคมี โดยเฉพาะควันบุหรี่ พบในผู้มีภูมิต้านทานต่ำ รวมถึงได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น
4. โรคหัวใจและหลอดเลือด – สารพิษในบุหรี่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และทำให้เส้นเลือดแดงตีบแคบ รวมถึงเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจหยุดพัก และยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
5. โรคเบาหวาน – จากงานวิจัยของศูนย์การแพทย์ทางทหารเบอร์มิ่งแฮม (Birmingham) รัฐอลาบามา พบว่าคนที่สูบบุหรี่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคเบาหวาน มากกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่และไม่ได้รับควันสูบบุหรี่เลย ถึง 3.4 เปอร์เซ็นต์