Connect with us

เราควรมีประกันชีวิตกี่กรมธรรม์

คนเราสามารถมีประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน

เราควรมีประกันชีวิตกี่กรมธรรม์

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากรมธรรม์หลักของประกันชีวิตคือกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองชีวิตของผู้ทำประกัน ที่จะชดเชยค่าสินไหมทดแทนเมื่อเสียชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเราอาจต้องการความคุ้มครองมากกว่า หนึ่งกรมธรรม์ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของความต้องการได้รับความคุ้มครอง บางคนอาจเพื่อใช้เป็นเครื่องมือลดหย่อนภาษี บางคนอาจทำเพื่อคนรักที่อยู่ข้างหลัง บางคนก็อาจทำเพื่อประโยชน์วัยเกษียณของตนเอง แล้วแต่ว่าใครต้องการความคุ้มครองแบบไหน สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนการทำประกันชีวิตอันดับแรกคือความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันต่อปี ซึ่งถ้าเราได้พิจารณาอย่าถี่ถ้วนแล้วว่า เรามีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันต่อความคุ้มครองมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์ขึ้นไป ก็สามารถซื้อประกันชีวิตฉบับที่สองหรือสามแล้วแต่ความสะดวก

จุดเด่น

  • ประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งฉบับควรพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน
  • ประกันชีวิตอาจทำแค่ฉบับเดียวแต่เพิ่มความคุ้มครองด้วยประกันภัยอื่นๆ
  • หากผิดชำระการจ่ายเบี้ยประกันต่อปีอาจทำให้กรมธรรม์ถูกยกเลิก

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์

ผู้ทำประกันชีวิตสามารถเลือกทำประกันชีวิตได้ มากกว่าหนึ่งฉบับ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันของคุณ และความจำเป็นที่ต้องได้รับความคุ้มครอง เพราะในการทำประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียคือทำให้เบี้ยประกันเพิ่มขึ้น บางครั้งก็อาจเพิ่มขึ้นมากกว่าความจำเป็น ในการที่จะเลือกทำประกันชีวิตหลายฉบับจึงต้องมีการพิจารณาถึงความจำเป็นหลายๆ ด้านว่าประกันแต่ละฉบับนั้นให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายไปหรือไม่

เป้าหมายของการทำประกันชีวิต

ก่อนที่จะเลือกทำประกันชีวิตไม่ว่าจะกี่กรมธรรม์ก็ตาม สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือเป้าหมายในการเลือกความคุ้มครองว่าเราทำประกันชีวิตเพื่อวัตถุประสงค์ใด แล้วกรมธรรม์ที่เลือกนั้นได้ตรงตามความต้องการแล้วหรือยัง โดยเป้าหมายหลักของการทำประกันชีวิตมีสองรูปแบบดังนี้

1. ทำเพื่อเน้นมรดก

ทำเพื่อใช้เป็นเงินมรดกให้กับคนที่เราเมื่อยามจาก เพื่อเป็นความคุ้มครองถ้าเกิดเราจากไปกะทันหัน คนที่เราดูแลอยู่จะได้มีเงินทุนไปดูแลตัวเองต่อ ซึ่งแบบนี้ คนที่ได้ผลประโยชน์คือคนที่อยู่ข้างหลัง ไม่ใช่ตัวเรา

2. ทำเพื่อการันตีเงินออม

เป็นการวางแผนการเงินในอนาคตเมื่อยามชรา จะได้ไม่เป็นภาระของคนในครอบครัว และอาจจะเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน แบ่งเงินมาออมในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงขาดทุน ส่วนหนึ่ง แบบนี้เราจะเป็นคนได้ผลประโยชน์เอง เพราะเราจ่ายเบี้ยเพื่อออมให้ตัวเอง

ข้อควรระวังในการทำประกันชีวิตหลายฉบับคือหากผิดนัดการชำระเบี้ยประกันในบางปีอาจทำให้กรมธรรม์ถูกยกเลิกและคุณอาจเสียประโยชน์จากอายุสัญญาในบางประเภทที่มีการนับจำนวนปีที่จ่ายเบี้ยประกัน เช่น ประกันชีวิตตลอดชีพ

ทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับประกันชีวิตที่เน้นเงินมรดก

การทำประกันภัยเพื่อเน้นเงินมรดกสำหรับคนข้างหลัง เป็นการวางแผนด้านการเงินสำหรับคนที่เรารัก ถ้าเราเกิดจากไปกะทันหัน นั่นคือ เราต้องประเมินก่อนว่า เงินก้อนเท่าไหร่ถึงจะพอกับการเลี้ยงดูตัวเองได้ของคนที่เรารักในช่วงระยะเวลาการปรับตัว บวกกับ ภาระหนี้สินของเราที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด เพราะเราไม่อยากให้คนอื่นต้องมารับภาระหนี้ก้อนนี้ต่อ เพราะฉะนั้น ทุนประกันที่เหมาะสมกรณีเน้นคุ้มครองชีวิต จึงเท่ากับ:

ทุนประกันที่เหมาะสมกรณีเน้นคุ้มครองชีวิต = (ค่าใช้จ่ายต่อปีที่เราจ่ายเพื่อเลี้ยงดูคนอื่น x จำนวนปีที่เราต้องเลี้ยงดู) + ภาระหนี้สินที่เหลืออยู่ทั้งหมด

ในการเลือกทำประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งฉบับไม่มีข้อบังคับหรือข้อแนะนำที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของแต่บุคคลที่อาจต้องการความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรศึกษาถึงลักษณะความคุ้มครองขอแต่ละกรมธรรม์ให้ดีก่อนการเลือกทำประกันชีวิตฉบับที่สอง

ทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับประกันชีวิตที่เน้นเงินออม

หากเราทำเพื่อเน้นออมเงินอาจไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดว่าเราควรจะต้องใช้ประกันชีวิตแบบที่เน้นออมเงินเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการรับความเสี่ยงของเราเองว่ามีเป้าหมายของกันทำประกันชีวิตนั้นๆ อย่างไร เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน การทำประกันชีวิตถือว่าเป็นเครื่องมือวางแผนเงินออมที่ความเสี่ยงต่ำ หากคนที่ต้องการทำประกันเพื่ออมเงิน ควรพิจารณาการลงทุนในทุนประกันที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ เช่น เราต้องการมีเงินใช้เดือนละ 15,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี ให้พิจารณาทุนประกันที่มีผลตอบแทนเพียงพอกับเงินก้อนหลังเกษียณ ตัวอย่าง ทุนประกันที่เหมาะสมกับการออมเงิน = (เงินที่จำเป็นต้องใช้ต่อเดือน x 12 เดือน) x จำนวนปี ดังนั้นควรเลือกทุนประกันที่ใกล้เคียงเงินออมที่ต้องการเมื่อครบกำหนดสัญญากรมธรรม์

การทำประกันมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์นอกเหนือจากประกันชีวิต

ถึงแม้ว่าคุณจะมีประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิตเมื่อเสียชีวิตเป็นหลักอยู่แล้วแต่คนเราอาจมีความเสี่ยงด้านอื่นๆ ที่ต้องการได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรพิจารณาให้ดีว่าคุณมีความต้องการความคุ้มครองด้านอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่น ประกันสุขภาพ เพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย หรือประกันโรคร้ายแรงให้ความคุ้มครองต่อโรคร้อยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เพราะหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแล้วจะได้ความคุ้มครองสุขภาพให้ด้วย ซึ่งประกันสุขภาพเป็นสัญญาส่วนเพิ่มจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ หากเป็นพนักงานบริษัทเอกชน จะมีประกันสังคม ประกันกลุ่มของบริษัท หากเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเพิ่ม สำหรับเจ้าของธุรกิจ อาชีพอิสระที่ยังไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล อาจพิจารณาเพิ่มเพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาลโรคร้ายแรงต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต

ประเภทของประกันชีวิต

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันชีวิต