การทำพินัยกรรม
ทำพินัยกรรมเพื่อการวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินให้กับทายาทหลังจากเสียชีวิต
ทำพินัยกรรมเพื่อการวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินให้กับทายาทหลังจากเสียชีวิต
พินัยกรรม คือการวางแผนการจัดการมรดก ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงเจตจำนงของผู้ตายว่า หลังจากการเสียชีวิตไปแล้วนั้นเจ้าของมรดกต้องการมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดบ้าง แต่หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ทรัพย์สินของผู้ตายจะตกไปอยู่กับทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่หากทายาทโดยธรรม บวชหรือเป็นพระภิกษุ จะไม่สามารถรับมรดกได้เว้นแต่จะมีการออกมาจากสมณเพศเสียก่อน แต่หากผู้ตายทำพินัยกรรมระบุชื่อว่าเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม สามารถรับมรดกได้โดยไม่ต้องออกจากสมณเพศ
มรดก คือ ทรัพย์สินที่ผู้เสียชีวิตได้ทำการครอบครองตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน บ้าน รถ เงินฝากธนาคาร หากได้ยินคำว่ามรดกหลายคนอาจถึงทรัพย์สินต่างๆเพียงอย่างเดียวแต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่ามรดกนี้ได้ขยายความไปถึงบรรดาสิทธิหน้าที่ต่างๆ และความรับผิดชอบที่มีอยู่ ก่อนเสียชีวิตด้วยเช่นกัน สิ่งที่นับว่าเป็นมรดกประกอบไปด้วย 3 ประเภทด้วยกัน
1.ทรัพย์สินของคนตาย
อย่างที่ทราบกันดีว่ามรดกนั่นคือทรัพย์สินอันดับแรกที่คนมักจะนึกถึง เป็นสิ่งที่จะตกไปยังทายาทโดยชอบธรรมหลังจากเจ้าของมรดกได้เสียชีวิต ประกอบไปด้วย ทรัพย์สินมีค่าต่างๆที่สามารถตีราคาออกเป็นตัวเงินได้ และของที่มีมูลค่าทางจิตใจที่ไม่สามารถตีออกเป็นตัวเงินได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างทรัพย์สินที่นับว่าเป็นมรดก เช่น ที่ดิน บ้าน รถ ทองคำ และสิ่งที่ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าได้ เช่น รูปถ่ายบรรพบุรุษ สมุดบันทึก ของสะสม เป็นต้น
2.สิทธิหน้าที่
หมายถึง สิทธิหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคนตาย ซึ่งหมายถึงทายาทต้องมีหน้าที่ดูแลหน้าที่รับผิดชอบนั้น จนกว่าจะมีการบอกเลิกหน้าที่นั้น เช่น หน้าที่ในการจ่ายค่าเช่า สิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน การจ่ายภาษี การชำระค่าไฟฟ้า หนี้สิน และการชำระค่าสินค้าต่างๆ
3.ความรับผิดชอบตามกฎหมาย
ถือเป็นมรดกที่ทายาทจำเป็นจะต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อ เช่น ความรับผิดชอบในการทำผิดกฏหมายและมีการจ่ายค่าปรับ หรือ การชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ให้แก่คู่กรณี แล้วแต่เหตุการณ์ เป็นต้น
ผู้มีสิทธิได้รับมรดก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
1.บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม อาจไม่ได้เป็นทายาทโดยตรงกับผู้ตายหรือเป็นบุคคลอื่นๆ ที่เรียกว่าการมอบให้โดยเสน่ห์หา ถ้าผู้ตายทำมรดกยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ใครแล้ว ผู้รับพินัยกรรมย่อมได้รับมรดกตามนั้นทายาทโดยธรรมก็จะไม่มีสิทธิได้รับมรดก เว้นแต่จะระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
2.บุคคลที่เป็นทายาทโดยธรรม คือทายาทผู้มีสิทธิตามกฎหมายทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิ์ได้รับมรดกก่อนหลังดังนี้ ลำดับแรกคือ ผู้สืบสันดาน อันได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื้อ และต่อๆไปจนสุดท้าย , บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา, ปู่ ย่า ตา ยาย และ ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับ
“การทำพินัยกรรมสามารถทำได้โดยไม่ต้องรอให้เราอายุมาก หรือใกล้เสียชีวิตก่อน เพราะหากถึงตอนนั้นก็อาจจะสายเกินไป ขอเพียงแค่มีคุณสมบัติ 2 ข้อ คือ มีอายุครบ 15 ปีขึ้นไป และศาลไม่ได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็สามารถเริ่มเขียนพินัยกรรมได้แล้ว”
การทำประกันชีวิตถือเป็นเครื่องมือการวางแผนมรดกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นส่วนมากในปัจจุบัน เพราะการทำประกันชีวิตคือการจ่ายเบี้ยประกันจำนวนน้อยแต่ได้รับค่าตอบแทนสูงถือเป็นการสะสมเบี้ยประกันเพื่อรับเป็นเงินก้อนให้แก่ทายาทเมื่อเสียชีวิตลง ประกันชีวิตช่วยวางแผนมรดกดังนี้
1.เงินค่าสินไหมทดแทน เป็นเงินที่ได้ระบุชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์จากค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ผู้รับประโยชน์สามารถนำเงินก้อนมาใช้เป็นเงินมรดกหรือเงินในการจัดการหนี้สินของผู้ตายได้
2.ทายาทได้รับเงินรวดเร็ว เมื่อผู้ทำประกันได้เสียชีวิตลง ผู้รับผลประโยชน์ไม่ต้องรอให้มีการจัดการมรดกอื่นๆให้เรียบร้อยก่อน แต่สามารถเบิกจากบริษัทประกันได้โดยตรง
3.การวางแผนภาษี การทำประกันชีวิตช่วยในการลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ทำประกัน และยังช่วยลดหย่อนภาษีมรดกได้อีกด้วย
การทำพินัยกรรมที่ถูกต้องจะต้องลงนามในพินัยกรรมต่อหน้าพยานที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสองคน พยานไม่สามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้และต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปและลงนามในเอกสาร พยานหรือคู่สมรสของพยานไม่สามารถรับประโยชน์จากพินัยกรรมได้
การทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องรอให้ใกล้เสียชีวิต หรือแก่ชราก็สามารถทำได้ ตั้งแต่อายุ 18 ปี ขึ้นไป เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่มรดกนั้นจะไม่ถูกแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่นนอกเหนือวัตถุประสงค์ของเจ้าของมรดก
– การทำพินัยกรรมต้องทำเป็นหนังสือ สามารถเขียนหรือพิมพ์ก็ได้
– ต้องลงบันทึกวันที่ เดือน ปี ในขณะที่ทำเพื่อพิสูจน์ สถานะของผู้ทำ
– ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อตนเอง โดยเซ็น หรือพิมพ์ลายมือก็ได้ โดยต้องกระทำต่อหน้าพยานสองคน คือผู้ที่ได้มีส่วนเสียต่อมรดกนั้น
– การขูดลบ เติม หรือแก้ไข จะทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะลงลายมือชื่อและวันที่ของผู้ทำกำกับเอาไว้แล้วต่อหน้าพยาน 2 คน
การวางแผนมรดกเป็นที่สิ่งสำคัญที่เจ้าของมรดกต้องคำนึงถึงในขณะที่ยังไม่เสียชีวิต เพราะการทำพินัยกรรมนั้นถือเป็นการจัดสรรการส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้คนบุคคลที่ต้องการ หรือ กับทายาทตามเจตนารมณ์ของเจ้าของมรดก และยังเป็นการป้องกันทรัพย์สินของครอบครัวไม่ให้ถูกบังคับชำระหนี้ หากบริษัทดำเนินธุรกิจผิดพลาดเจ้าหนี้จะไม่มีสิทธิ์มายึดเอาทรัพย์สินที่เป็นมรดกของครอบครัว และที่สำคัญเป็นการวางแผนด้านภาษี โดยเฉพาะภาษีมรดกเพื่อให้การส่งต่อทรัพย์สินของครอบครัวนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ