Connect with us

ทำประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์ได้หรือไม่

คุณสามารถมีกรมธรรม์ประกันชีวิตได้มากกว่าหนึ่งฉบับ แต่อาจทำให้เบี้ยประกันของคุณเพิ่มขึ้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าหรือไม่

การทำประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์คืออะไร

คุณสามารถมีกรมธรรม์ประกันชีวิตได้มากกว่าหนึ่งฉบับ ขึ้นอยู่กับว่าประกันแต่ละฉบับนั้นให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายไปหรือไม่ ตัวอย่างเช่นคุณอาจเลือกนโยบายการประกันชีวิตที่จ่ายเงินก้อนเมื่อคุณเสียชีวิต และมีนโยบายประกันภัยแบบชั่วระยะเวลาเพิ่มเติมที่ควบคู่กันไป เพื่อการชำระหนี้ที่คุณอาจมีอยู่หลังจากการเสียชีวิต หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการทำประกันภัยประเภทอื่นๆ ควบคู่ไปกับการทำประกันชีวิต เพราะโดยปกติแล้วประกันชีวิตจะเน้นความคุ้มครองกรณีเมื่อเสียชีวิต หรือ การสะสมทรัพย์ แต่ไม่มีนโยบายในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยจากความเจ็บป่วยนอกจากว่าคุณจะซื้อประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติมจากกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพราะนอกจากจะคุ้มครองเมื่อเสียชีวิตแล้ว ยังมีค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยอีกด้วย

จุดเด่น

  • ประกันชีวิตสามารถทำได้หลายฉบับขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวบุคคล
  • ประกันชีวิตควรทำคู่กับประกันภัยประเภทอื่น เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้น
  • ประกันชีวิตที่เหมาะสมควรเลือกทุนประกัน 3 เท่าของเงินเดือนต่อปี

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการทำประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์

การทำประกันชีวิตหลายกรมธรรม์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียคือทำให้เบี้ยประกันเพิ่มขึ้น บางครั้งก็อาจเพิ่มขึ้นมากกว่าความจำเป็น ในการที่จะเลือกทำประกันชีวิตหลายฉบับจึงต้องมีการพิจารณาถึงความจำเป็นหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น หากมีหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นเสาหลักของสมาชิกในครอบครัว และมีบุคคลที่อยู่ในการอุปการะของคุณ เช่น ลูก ภรรยา พ่อ แม่ คุณอาจเลือกทำประกันสุขภาพให้พวกเขาเพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพกรณีเจ็บป่วย หรือถ้าต้องการประกันชีวิตแบบที่จ่ายค่าเบี้ยน้อย ได้รับความคุ้มครองชีวิตที่สูง เป็นมรดกให้กับคนข้างหลัง ควรเลือกสร้างหลักประกันให้ครอบครัวด้วยประกันชีวิตตลอดชีพ ประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปกป้องครอบครัว (คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ)

การพิจารณาเลือกประกันชีวิตหลายกรมธรรม์ตามวัตถุประสงค์

ในการทำประกันชีวิตของคนเราอาจมีเหตุผลหลายอย่างที่แตกต่างกัน บางคนอาจเพื่อใช้เป็นเครื่องมือลดหย่อนภาษี บางคนอาจทำเพื่อคนรักที่อยู่ข้างหลัง บางคนก็อาจทำเพื่อประโยชน์วัยเกษียณของตนเอง สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนการทำประกันชีวิตอันดับแรกคงจะเป็นวัตถุประสงค์ในการทำประกันชีวิตว่าทำไปเพื่ออะไร หากต้องการทำประกันเพื่อตัวเอง เก็บเงินก้อนเพื่อใช้ในอนาคต ทำเพื่อสร้างวินัยในการออมเงิน แนะนำให้เลือกประกันประเภทสะสมทรัพย์ ซึ่งจะมีส่วนของความคุ้มครองชีวิตน้อย เน้นเงินต้นอยู่ครบ ชอบแบบการันตีผลตอบแทน

“การมีประกันชีวิตหลายฉบับนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น คุณต้องมั่นใจได้ว่าคุณมีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันตามกำหนดของบริษัทได้ มิเช่นนั้นกรมธรรม์ของคุณอาจถูกยกเลิก”

การพิจารณาเลือกประกันชีวิตหลายกรมธรรม์ตามความสามารถ

แน่นอนว่าในการเลือกซื้อประกันชีวิตหลายฉบับต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนี้การพิจารณาเลือกซื้อประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งฉบับต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน ประกันชีวิตโดยส่วนใหญ่จะมีการจ่ายเบี้ยระยะยาวและจ่ายมากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น การตัดสินใจเลือกแบบประกันต้องมั่นใจว่ามีความสามารถในการจ่ายเบี้ยครบได้ตามที่กำหนดไว้ เช่น แบบประกันเพื่อสะสมทรัพย์ แบบจ่ายเบี้ย 6 ครั้ง คุ้มครอง 15 ปีเป็นต้น ในช่วง 6 ปีที่จ่ายเบี้ยต้องมีกระแสเงินสดที่จะจ่ายเบี้ยได้ทุกปี หากจ่ายเบี้ยไม่ครบตามสัญญา ผิดนัดชำระเบี้ยงวดใดงวดหนึ่ง อาจทำให้กรมธรรม์ถูกยกเลิก

สิ่งสำคัญในการพิจารณาการซื้อประกันชีวิตคือการศึกษาให้ดีถึงเงื่อนไขความคุ้มครองที่คุณจะได้รับจากแต่ละกรมธรรม์ที่คุณเลือก และความจำเป็นที่ต้องซื้อกรมธรรม์เพิ่ม มิเช่นนั้นคุณอาจจ่ายเบี้ยประกันไปโดยไม่คุ้มค่ากับความคุ้มครอง

บุคคลที่มีหนี้สินควรทำประกันชีวิตแบบไหน

หากคนมีหนี้สินที่ยังมีภาระผูกพันที่ต้องชำระในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 5 ปี หรือ 7 ปี และเป็นห่วงว่าคนข้างหลังจะได้รับความเดือดร้อนจากการเสียชีวิตของคุณ การทำประกันแบบชั่วระยะเวลา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคุณ และหากคุณต้องการสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองควรพิจารณาการทำประกันชีวิต แบบเงินบำนาญ เพื่อเป็นเงินใช้หลังเกษียณ ทุนประกันที่เหมาะสมในการเลือกทำประกันชีวิตควรมีทุนประกันอย่างน้อย 3 เท่าของรายได้ต่อปี เพื่อให้คนข้างหลังมีเวลาปรับตัว บวกเพิ่มภาระหนี้ที่มีทั้งหมดเพื่อให้ภาระหนี้ไม่ตกอยู่กับคนข้างหลัง โดยทุนประกันชีวิตนั้นไม่จำเป็นต้องทำให้ครอบคลุมตั้งแต่ครั้งแรก คุณสามารถทยอยทำเพิ่มทุกครั้งที่มีรายได้เพิ่ม มีการเปลี่ยนงาน หรืออาจทบทวนทุนประกันชีวิต ว่ามีเพียงพอหรือไม่อย่างน้อยปีละครั้ง

การทำประกันอื่นๆ ควบคู่กับการทำประกันชีวิต

หากคุณมีประกันชีวิตหลักที่ให้ความคุ้มครองเมื่อเสียชีวิตแล้ว ควรพิจารณาให้ดีว่าคุณมีความต้องการความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มเติมหรือไม่ คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแล้วจะได้ความคุ้มครองสุขภาพให้ด้วย ซึ่งประกันสุขภาพเป็นสัญญาส่วนเพิ่มจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ (จ่ายเบี้ยทิ้ง) ควรพิจารณาสวัสดิการต่างๆ เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่มีว่าเพียงพอหรือไม่ หากเป็นพนักงานบริษัทเอกชน จะมีประกันสังคม ประกันกลุ่มของบริษัท หากเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเพิ่ม สำหรับเจ้าของธุรกิจ อาชีพอิสระที่ยังไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล อาจพิจารณาเพิ่มเพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาลโรคร้ายแรงต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต

ประเภทของประกันชีวิต

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันชีวิต