ไลฟ์สไตล์มีผลต่อเบี้ยประกันอย่างไร
การมีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง อาจเป็นเหตุผลทำให้เบี้ยประกันเพิ่มสูงขึ้น
การมีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง อาจเป็นเหตุผลทำให้เบี้ยประกันเพิ่มสูงขึ้น
ไลฟ์สไตล์ หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตที่เฉพาะเจาะจงของบุคคลหนึ่ง ลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ ที่บุคคลนั้นแสดงออก ความชอบส่วนบุคคล สิ่งเหล่านั้นจะเป็นตัวบ่งบอกตัวตนของบุคคลนั้นๆ หรือรูปแบบการดำเนินชีวิตแต่ละแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการเข้าสังคม ในการบริโภค ในการหาความบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจใช้เวลาว่าง และการแต่งตัว ล้วนเป็นส่วนประกอบของรูปแบบไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตคนมนุษย์
การสมัครทำประกันชีวิตทุกครั้งต้องมีการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ รวมไปถึง ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเพื่อใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับผู้ขอทำประกัน โดยบริษัทจะใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัครเพื่อพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งหากคุณมีวิถีชีวิตที่มีความเสี่ยงมากเท่าไหร่ เบี้ยประกันภัยก็จะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นเท่านั้น นอกจากปัจจัย อายุ เพศ ที่อยู่แล้ว ไลฟ์สไตล์ของคนเราก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะบ่งบอกว่าวิถีชีวิตของผู้ทำประกันเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงใดบ้างที่ต้องเผชิญ แน่นอนว่าบุคคลที่มีไลฟ์สไตล์ชีวิตที่ไม่เหมือนบุคคลทั่วไปย่อมต้องได้รับความคุ้มครองที่รัดกุมยิ่งขึ้น และอาจมีเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น
ระดับเบี้ยประกันชีวิตจะแตกต่างกันตามแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของประเภทนั้นๆ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.ประเภทสามัญ เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท และมีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน
2.ประเภทอุตสาหกรรม เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยทั่วไปตั้งแต่ 10,000 – 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ ฉะนั้นจึงมีระยะเวลารอคอย คือ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด
3.ประเภทกลุ่ม เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท การประกันชีวิตกลุ่มนี้อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภท อุตสาหกรรม
“การมีไลฟ์สไตล์ที่ดีมีความเสี่ยงต่ำ นอกจากจะทำให้เบี้ยประกันต่ำลงแล้ว แต่หมายถึงประโยชน์ที่เกิดกับตัวผู้ทำประกันเองอีกด้วย เพราะการมีไลฟ์สไตล์ที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตและร่างกาย และยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย”
อาชีพถือเป็นไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันของเรา ว่าแต่ละวันมีการใช้ชีวิตอย่างไร
หากคุณทำงานเป็นนักดับเพลิงหรือคนงานเหมืองคุณมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ทำงานในสำนักงาน
ระดับความเสี่ยงมีผลต่อการพิจารณาประกันภัย โดยจะมีการแบ่งชั้นอาชีพในการรับประกันภัยจะแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่
อาชีพชั้น 1 ส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน
เช่น นักเรียน – นักศึกษา, ข้าราชการ, ครู, อาจารย์, แคชเชียร์ (พนักงานเก็บเงิน), ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ,ซึ่งมีหน้าที่ในสำนักงานเท่านั้น / ธนาคาร / บริษัทประกัน เป็นบุคคลที่มีอาชีพปกติที่มีความเสี่ยงต่ำ เบี้ยประกันจะถูกกว่ากลุ่มคนที่มีอาชีพความเสี่ยงสูง
อาชีพชั้น 2 ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา
เช่น นักดนตรี, นักร้อง, ช่างภาพ, นักข่าว
อาชีพชั้น 3 ปฏิบัติงานด้านช่าง กระบวนการผลิต ที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ใช้แรงงาน การเดินทาง หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ
อาชีพชั้น 4 อาชีพพิเศษที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ เช่น นักแสดงผาดโผน
อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง อาจเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงอาจถูกปฏิเสธการรับประกันภัย ควรศึกษารายละเอียดจากบริษัท
ในการแบ่งชั้นอาชีพดังที่กล่าวมาแล้ว อาชีพชั้น 1 จะเป็นชั้นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยต่ำที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะต่ำกว่าอาชีพชั้นอื่น ๆ ในขณะที่อาชีพชั้น 4 เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยสูงที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ หรืออาจถูกปฏิเสธตามการพิจารณาของบริษัท
การทำประกันชีวิตจะเน้นจ่ายเงินชดเชยหลังจากการเสียชีวิตเป็นหลัก ผู้ทำประกันควรพิจารณาการซื้อประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมด้วยเพราะคุณไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ไลฟ์สไตล์คือความชอบส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่อาจปรับปรุงได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากคุณได้ทำการลดพฤติกรรมเหล่านี้ให้อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำ ก็จะเป็นผลดีกับตัวคุณเอง
งานอดิเรก
งานอดิเรกที่เป็นมีความเสี่ยงที่จะอันตรายสูง เช่นดำน้ำปีนหน้าผาหรือแข่งรถ ถือเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะส่งผลต่อเบี้ยประกันชีวิตให้สูงขึ้น
ขับรถ
การขับรถเร็ว ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตสูง และหากคุณถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือได้รับการลงโทษ จากการถูกยึดใบอนุญาตขับขี่แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นในฐานะผู้ขับขี่ อาจส่งผลให้เบี้ยประกันของคุณสูงขึ้นได้
พฤติกรรมการกิน
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกว่าคุณเป็นบุคคล ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน ตัวบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญ เช่นน้ำหนักระดับกิจกรรมความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลจะถูกนำมาพิจารณาเมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงของคุณ อาจทำให้เบี้ยประกันของคุณสูงขึ้นหากพบว่าคุณมีสุขภาพที่แย่ลง
หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ย่อมมีโอกาสที่จะทำให้เบี้ยประกันของคุณเพิ่มมากขึ้น การลดพฤติกรรมเสี่ยงนั้น นอกจากจะทำให้เบี้ยประกันลดลงแล้ว ยังทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย มีประโยชน์ทางกับร่างกายและทางประกันภัย พฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถลดได้ มีดังนี้
นิสัยการสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคต่างๆ ได้สูงโดยเฉพาะโรคมะเร็งปอดซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด
บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพสูง และรวมไปถึงอุบัติเหตุต่างๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นภายใต้ฤทธิ์สุรา