หากผู้ทำประกันชีวิตเสียชีวิตลงด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม เป็นหน้าที่ของทายาทตามกฎหมายหรือผู้รับประโยชน์ประกันภัย ที่ต้องดำเนินการในการจัดการศพให้เรียบร้อย รวมไปถึงการรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศพ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินเตรียมเอกสารการขอเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย หรือค่าใช้จ่ายในการทำการฌาปนกิจศพ และถึงแม้ว่าประกันชีวิตจะไม่จ่ายค่าจัดการศพให้โดยตรงเมื่อผู้ทำประกันได้เสียชีวิตในอายุกรมธรรม์ แต่แน่นอนว่ารับผลประโยชน์สามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินก้อน และใช้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการจัดการศพได้ ตามเงื่อนไขและทุนประกันที่ได้ทำไว้
ประกันภัยโดยส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ได้คุ้มครองค่าการจัดการศพ แต่จะให้เป็นเงินก้อนหลังจากการเสียชีวิต เพื่อให้ทายาทหรือผู้รับประโยชน์สามารถนำเงินมาจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ประกันภัยที่ให้เงินเงินก้อนหลังจากการเสียชีวิตมีดังนี้
ประกันสุขภาพเป็นแผนที่คุ้มครองสุขภาพของผู้ทำประกัน ช่วยจัดการเรื่องค่ารักษาพยาบาล และจ่ายเงินก้อนเมื่อมีการเสียชีวิตด้วยโรค
ประกันชีวิต ส่วนใหญ่เน้นการจ่ายเงินเมื่อมีการเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินก้อนหลังจากการเสียชีวิตของผู้ทำประกัน เพื่อมาใช้จัดการศพ
จะดีกว่าไหมถ้าคนที่คุณรักไม่ต้องรับภาระค่าจัดการศพของคุณหลังจากที่คุณได้เสียชีวิตไปแล้ว แถมยังมี เงินก้อนเหลือไว้เป็นมรดก เช็คเบี้ยประกันชีวิตออนไลน์เพื่อเลือกความคุ้มครองที่ดีที่สุดให้แก่คุณได้ที่นี่
ถึงแม้ประกันภัยส่วนใหญ่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีเสียชีวิต แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่บริษัทประกันชีวิตยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกัน จากสาเหตุการตายดังนี้
1.ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันตาย – การที่ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้ทำประกัน เป็นเงื่อนไขหลักของกรมธรรม์ที่ยกเว้นการจ่ายเงินชดเชย
2.ผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย – ความตายที่เกิดจากสาเหตุการฆ่าตัวตายบริษัทประกันชีวิตจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันชีวิตที่ได้ชำระมาแล้วทั้งหมดเท่านั้น
3.การเสียชีวิตด้วยสาเหตุที่ผิดเงื่อนไขความคุ้มครอง – อาจมีเงื่อนไขในประกันภัยบางประเภท ที่จะจ่ายเงินชดเชยเมื่อได้เสียชีวิตจากสาเหตุที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ประกันผู้สูงอายุ จะไม่จ่ายเงินเมื่อเสียชีวิตจากโรคในระยะเวลา 2 ปี หรือ ประกันอุบัติเหตุไม่จ่ายเงินกรณีเสียชีวิตด้วยโรคร้าย เป็นต้น
13,467 รีวิว
– เสียชีวิต ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดเลยทราบว่า “ผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่อย่างไร”
ทายาทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิตได้ที่ “สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการตรวจสอบโดยเมื่อ คปภ. ตรวจสอบแล้ว จะแจ้งว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันหรือไม่ ทำไว้กับบริษัทประกัน ใดบ้าง
เอกสารประกอบคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิต
– ใบมรณบัตรของผู้เสียชีวิตที่ต้องการตรวจสอบ
– สำเนาทะเบียนบ้านและบัตร ปชช. ของผู้ยื่นคำร้อง
ทั้งนี้ คปภ. จะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ 2-3 สัปดาห์
– หายสาบสูญ กรณีที่คาดว่า ผู้ทำประกันเสียชีวิตแล้วแต่ “ยังไม่พบศพหรือมีชีวิตอยู่แต่สูญหายไป”
ทายาทจะต้องมีการแจ้งความสูญหาย และรอจนกว่าจะพบศพ แต่หากเมื่อเวลาผ่านพ้นไปกว่า 3 ปีแล้ว ยังไม่มีการพบตัวหรือพบศพ ทายาทสามารถดำเนินการทำเรื่องขอเคลมประกันได้ทันที หลังพ้นระยะเวลาดังกล่าว